ทำไมเราจึงควรเลี้ยงแบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) มีประโยชน์อย่างไรกับร่างกาย

แบคทีเรีย โพรไบโอติก probiotic

พอบอกว่าเราต้องเลี้ยงแบคทีเรียในลำไส้ ก็อย่าเพิ่งร้องยี้กันไปซะก่อนนะครับ เพราะเจ้าเพื่อนตัวเล็กเหล่านี้มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ทุกคนมากถึง 90% และเปรียบได้กับอวัยวะชิ้นหนึ่ง เพราะมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ ตามแหล่งที่แบคทีเรียชนิดนั้นอาศัยอยู่ 

แบคทีเรียในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. แบคทีเรียก่อโรค ที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วยต่างๆ เราสามารถรับเข้ามาในร่างกายได้จากได้จากการที่แบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้มีอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ทั้งในอากาศ อาหาร ตามพื้นผิว สิ่งของต่างๆ หรือแม้แต่แบคทีเรียบางชนิดก็สามารถติดต่อจากคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้
  2. แบคทีเรียดีที่เป็นมิตรกับร่างกาย เป็นแบคทีเรียประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต โดยแบคทีเรียดีเหล่านี้จะมีบทบาทที่แตกต่างกันในการส่งเสริมกลไกการทำงานของร่างกายในแต่ละส่วนที่พวกมันอาศัยอยู่ เช่น ผิวหนัง ช่องคลอด ในช่องปาก ในระบบทางเดินหายใจ ในระบบทางเดินอาหารที่จะมีแบคทีเรียดีชื่อว่า โพรไบโอติก (Probiotic) อาศัยอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในลำไส้

โพรไบโอติกมีความสำคัญอย่างไร

เพราะลำไส้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนสำคัญ และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรียก่อโรคที่มาจากภายนอก ทำให้ระบบอื่นๆในร่างกายเกิดความสมดุลไปด้วย ซึ่งโพรไบโอติกเป็นแบคทีเรียดีที่เข้าไปช่วยส่งเสริมการทำหน้าที่ดังกล่าว โดยเข้าไปยึดเกาะที่ผนังลำไส้ ยับยั้งไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคสามารถเจริญเติบโตและรบกวนการทำงานของลำไส้และทั้งระบบทางเดินอาหาร
          นั่นก็แปลว่า ยิ่งเราเลี้ยงแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก(Probiotic) ในลำไส้ได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อทุกระบบในร่างกายที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมใช้ชีวิตแบบแอคทีฟได้ทุกวัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียสมดุลแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติกในร่างกาย

  • อายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในร่างกายซึ่งส่งผลต่อจำนวนโพรไบโอติกที่ลดลง
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้ระบบภายในเสียสมดุล ทั้งการมีความเครียดสูง พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอจนแบคทีเรียก่อโรคเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและเข้ามาแทนทีแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานานก็ส่งผลโดยตรงต่อแบคทีเรียดีได้เช่นกัน
  • การรับประทานอาหารที่ย่อยยากทำ ให้มีแก๊สหรือสารพิษสะสมในลำไส้มากขึ้นจนไปรบกวนแบคทีเรียดี รวมถึงการรับประทานอาหารแค่ไม่กี่ชนิดซ้ำๆ ทำให้ความหลากหลายของแบคทีเรียดีในร่างกายลดลงได้ เพราะสารอาหารที่ช่วยให้แบคทีเรียเติบโต เช่น พรีไบโอติก จะลดลงตามไปด้วย 

จะเพิ่มแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติกให้ร่างกายได้อย่างไร

นอกจากการปรับพฤติกรรม เลี่ยงการทำสิ่งที่ส่งผลต่อการเติบโตของแบคทีเรียแล้ว ทั้งหลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารก็สำคัญมากๆ ไม่แพ้กัน ทั้งการรับประทานอาหารให้หลากหลายขึ้น รวมถึงอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง

แต่ทั้งนี้ก็อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนที่จะรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทุกวัน ทั้งทางเลือกในการทานอาหารค่อนข้างจำกัดเนื่องจากชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ หรือแม้แต่การทานอาหารบางอย่างเพื่อเพิ่มโพรไบโอติก เช่น การทานโยเกิร์ต ก็จะต้องรับประทานให้ได้ถึง 3 ถ้วยต่อวัน เพื่อให้ได้จำนวนโพรไบโอติกที่เพียงพอ นั่นหมายถึงร่างกายก็มีโอกาสได้รับน้ำตาลจากโยเกิร์ตมากขึ้นด้วย นอกจากนี้โพรไบโอติกยังมีโอกาสถูกน้ำย่อยในทางเดินอาหารย่อยสลายก่อนเดินทางไปถึงลำไส้ เพราะไม่มีอะไรมาห่อหุ้ม ป้องกันโพรไบโอติกจากความเป็นกรดไว้เลย อาจเรียกว่าเป็นการทานที่ค่อนข้างสูญเปล่าเลยก็ว่าได้

การทานอาหารเสริมโพรไบโอติกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า เราสามารถเลี้ยงและรักษาแบคทีเรียดีให้อยู่ในสมดุลได้ ทั้งนี้เราก็แนะนำให้เลือกทานโพรไบโอติกในรูปแบบแคปซูลที่ทนต่อสภาพความเป็นกรด (Acid Resistant Capsule) เพื่อจะช่วยปกป้องโพรไบโอติกให้เหลือรอดไปถึงลำไส้ในปริมาณที่มากเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ไม่ต้องวุ่นวายทานเผื่อทีละมากๆ เพราะกลัวโพรไบโอติกถูกทำลายหมดก่อนไปถึงปลายทาง

บทความแนะนำ
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
แบคทีเรียดี-โพรไบโอติก-ลด-อายุมาก-คนแก่-วัยชรา
ลดไวจนน่าใจหาย เมื่อความหลากหลายของแบคทีเรียดีในลำไส้ ยิ่งลดลงตามอายุที่มากขึ้น
ท้องอืด ไม่อยากอาหาร โพรไบโอติก Probiotic
ไม่รู้สึกอยากอาหาร ท้องอืดบ่อย ต้องอ่าน
โพรไบโอติก-เหมาะกับใคร-หยุดกิน-เป็นไรไมห-ผลข้างเคียง
โพรไบโอติกต้องกินนานแค่ไหน หยุดกินจะเป็นอะไรไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่
ผายลม-ตดบ่อย -ตดเหม็น-เกิดจากอะไร
ผายลมบ่อยระหว่างวัน ตดมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ เกิดจากอะไร
บทความอื่นๆ
แบคทีเรีย-ในลำไส้-คือสาเหตุ-ทำให้นอนไม่หลับ
เมื่อแบคทีเรียในลำไส้ส่งผลต่อการนอน นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เพราะโพรไบโอติกในลำไส้เสียสมดุลจริงหรือ
ชะลอวัย ไม่แก่ง่าย หน้าเด็ก
6 เคล็ดลับชะลอวัย ไม่แก่ง่าย ฟื้นฟูความอ่อนเยาว์จากภายในแบบไม่ต้องพึ่งหมอ
ยาปฏิชีวนะ ทำลาย โพรไบโอติก แบคทีเรียดี
เป็นไข้หวัดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ระวังกินพร่ำเพรื่อ ส่งผลทั้งดื้อยาและทำลายแบคทีเรียดีในลำไส้
ไมเกรน-ลำไส้อ่อนแอ-โพรไบโอติก
ปวดหัวไมเกรน เกิดจากลำไส้อ่อนแอ แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุลจริงหรือ

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น