กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด

กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล

อยากกินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยโดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มรับประทาน อาจกล่าวได้ว่าการกินโพรไบโอติกก็เหมือนกับการกินวิตามินบำรุงสุขภาพทั่วๆไป ที่ทานได้ทุกวัน ไม่ใช่ยาที่ต้องผ่านการสั่งโดยแพทย์ แต่การจะกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดก็มีข้อแนะนำที่น่าสนใจและน่าลองทำตาม ตามที่เราได้นำมาฝากในบทความนี้ครับ
ถ้า

เคล็ดลับการกินโพรไบโอติกให้ได้ผล

1. ในช่วงแรกที่เพิ่งเริ่มกินโพรไบโอติกแนะนำว่าควรกินอย่างต่อเนื่องทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย  2- 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่จะเริ่มเห็นผลชัดเจนหลังโพรไบโอติกเข้าไปตั้งรกรากและปรับสมดุลลำไส้แล้ว
ลูกค้าบางท่านของเราทาน 3 วัน 7 วัน ก็เห็นผลถึงความเปลี่ยนแปลง บางคนก็ทานทั้งเดือน ถึงเห็นผล แต่ขึ้นอยู่กับสภาพลำไส้ของแต่ละคนครับ สำหรับบางคนที่รู้สึกว่าลำไส้สุขภาพดีขึ้น ระบบทางเดินอาหารและการขับถ่ายเป็นปกติ ไม่ได้มีปัญหาเหมือนแต่ก่อน อาจไม่จำเป็นต้องกินทุกวัน แต่ก็ยังคงต้องกินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (อาจจะวันเว้นวันก็ได้) ไม่ควรกินๆ หยุดๆ เว้นไปนานแล้วกลับมากินอีก เพราะระหว่างนั้นอาจมีจุลินทรีย์ตัวอื่นเข้าไปตั้งรกรากแทนโพรไบโอติก การที่เราจะทำให้ลำไส้กลับมาสมดุลเหมือนเดิม จึงต้องสร้างกองกำลังโพรไบโอติกในลำไส้ขึ้นมาใหม่ เท่ากับเป็นการต้องกลับมานับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

2. ช่วงเวลาที่ควรกินโพรไบโอติก คือช่วงก่อนหรือหรือระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งเป็นช่วงที่ความเป็นกรดในระบบทางเดินอาหารต่ำ จึงลดโอกาสที่โพรไบโอติกจะถูกทำลายโดยน้ำย่อยได้ รวมถึงการเลี่ยงไม่กินโพรไบโอติกตอนดื่มแอลกอฮอล์ หรือตอนกินยาบางชนิดซึ่งมีฤทธิ์ไปทำลายโพรไบโอติกได้เช่นยาปฏิชีวนะ
นอกจากการกินในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่กล่าวมาแล้ว การกินโพรไบโอติกในรูปแบบแคปซูลที่ทนต่อสภาพความเป็นกรดก็ช่วยปกป้องโพรไบโอติกให้เหลือรอดไปถึงลำไส้ได้ ในปริมาณที่มากเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ไม่ต้องวุ่นวายทานเผื่อทีละมากๆ เพราะกลัวโพรไบโอติกถูกทำลายหมดก่อนที่จะไปถึงปลายทาง
ทั้งนี้แคปซูลแต่ละตัวมีคุณภาพไม่เหมือนกัน ให้มองหา Acid resistant capsule หรือ แคปซูลทนกรด จะทำให้โพรไบโอติกตกไปสู่ลำไส้ได้ดีกว่า แคปซูลทั่วไปถึง 10 เท่า โดยโพรไบโอติกที่อยู่ในแคปซูลทนกรด สามารถรับประทานได้เลยตามสะดวก ไม่ต้องกลัวเรื่องของน้ำย่อยในกระเพาะ เหมือนกับรูปแบบอื่น สามารถทานได้ก่อนนอน หรือตอนเช้าตามที่สะดวกครับ

3. กินพรีไบโอติก (หรืออาหารที่มีกากใย) ที่เป็นอาหารของโพรไบโอติกควบคู่ไปด้วย ขนาดสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์เรายังต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน โพรไบโอติกซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งก็ต้องการอาหารเหมือนกัน พรีไบโอติกจะช่วยให้โพรไบโอติกเติบโต เพิ่มจำนวน และทำหน้าที่สร้างสมดุลลำไส้ได้ดีขึ้น เมื่อลำไส้แข็งแรงก็ทำงานประสานกับระบบอื่นๆได้ดี ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีโดยรวม ซึ่งพรีไบโอติกจัดเป็นใยอาหารชนิดหนึ่ง พบได้มากในอาหารประเภท ผัก ผลไม้ และ อาหารที่มีกากใยสูง ธัญพืช  ถั่วเมล็ดแห้ง กระเทียม หอมหัวใหญ่
แม้ว่าเราจะได้รับพรีไบโอติกจากอาการทั่วไปที่รับประทานอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้อนกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นพรีไบโอติกจำเพาะ แต่อาหารสำหรับคนยุคใหม่ก็มีกากใย หรือพรีไบโอติกน้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก ดังนั้นถ้าต้องการปรับปรุงสุขภาพก็ควรสนใจในการกินอาหารที่มีกากใยสูง หรือ พรีไบโอติกสูงด้วย
ทั้งนี้สำหรับอาหารเสริมที่มีเขียนว่าใส่พรีไบโอติก ต้องดูด้วยว่า ใส่ในปริมาณที่เยอะพอจะมีประโยชน์หรือไม่ แม้ว่าจะไม่ได้มี guideline ชัดเจน แต่มี มีหลายหน่วยงานแนะนำกว่า ควรกินพรีไบโอติก มากกว่า 3-5 กรัม หรือ ไฟเบอร์ 25 กรัม สำหรับผู้หญิง และ 38 กรัมสำหรับผู้ชาย (Academy of Nutrition and Dietetics) ถึงจะเห็นผลดีต่อลำไส้ ในอาหารเสริมส่วนมาใส่แค่ให้ได้มีชื่อแต่ไม่ได้มีจำนวนมากพอที่จะเกิดประโยชน์ได้ การเลือกอาหารเสริม จึงสามารถเลือกอาหารเสริมที่ใส่เฉพาะโพรไบโอติกเดี่ยวๆได้เลย ไม่ได้ทำให้เราพลาดอะไรไป

4. เลือกกินโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรา เพราะในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์โพรไบโอติกหลากหลายสายพันธุ์ที่มีจุดเด่นต่างกัน ดังนั้นเวลาที่เราเลือกกินโพรไบโอติก โดยเฉพาะในรูปแบบอาหารเสริม ควรดูด้วยว่าในอาหารเสริมนั้นๆ มีโพรไบโอติกที่มีจุดเด่นในการช่วยเรื่องอะไร

แม้ว่าโพรไบโอติกนั้นจะมีชื่อต้นเหมือนกัน แต่อาจจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น L. paracasei ก็สามารถแบ่งออกเป็นหลาย stain เช่น L. paracasei  IMC 502 เรารู้ว่า IMC502 ช่วยลดการเกิดหวัดได้ แต่ เราไม่มีทางรู้ว่า L. paracasei ตัวอื่นๆมีผลลัพธ์แบบเดียวกัน ถ้าไม่ได้พิสูจน์ในคน

(ขอแนะนำจุดเด่นของเชื้อโพรไบโอติกเรานิดนึงนะครับ 🙏) ในอาหารเสริมโพรไบโอติก TACTIVA ได้รวมโพรไบโอติก 3 สายพันธุ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากจุลินทรีย์กว่า 10,000 สายพันธุ์ จากห้องแล็บในประเทศอิตาลี นอกจากทั้ง 3 ตัวนี้จะแข็งแกร่งที่สุดแล้ว ยังผ่านการทดสอบกับผู้ใช้จริง (รวมถึงกลุ่มผู้ใช้ชาวเอเชีย) แล้วได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจในเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพลำไส้และเสริมระบบภูมิคุ้มกันเมื่อทานเป็นประจำ

      • SNZ1969 ทนต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าเชื้อตัวอื่นหลายเท่า ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่แล้วในลำไส้ ยับยั้งการเติบโตของเชื้อร้ายตัวก่อโรค

        • SYNBIO100  สามารถยึดเกาะผนังลำไส้ได้ดี จึงอยู่รอดได้นานขึ้น ลดการเป็นหวัด ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว ด้วยการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ 

          • CRL1505 ช่วยต้านเชื้อไวรัส ทั้งในระบบหายใจและทางเดินอาหาร และยังส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย

        สามารถดูตัวอย่างการทำ research ที่ควรมีใน อาหารเสริม จากบทความเกี่ยวกับเชื้อโพรไบโอติกของเรา วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ประสิทธิภาพ Tactiva โปรไบโอติก: ผลการวิจัยในเชื้อโปรไบโอติกในแต่ละตัว

        5. เลือกโพรไบโอติกที่มีปริมาณมาก ประสิทธิภาพของโพรไบโอติกนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนโพรไบโอติก ยิ่งจำนวนมากยิ่งมีโอกาสที่โพรไบโอติก จะสามารถเกาติดและคงอยู่ในลำไส้ของเราได้
        เพื่อให้โพรไบโอติกมีสามารถทำงานได้ จะต้องมีความเข้นข้นระดับหนึ่งในลำไส้ของเรา ซึ่งจำนวนดังกล่าวจะขึ้นกับสายพันธ์ุของโพรไบโอติกแต่ละชนิด
        โดยทั่วไปแล้วปริมาณรับประทานควรมีขนาดมากกว่า 1 พันล้าน CFU (colony-forming units) ซึ่งจะถือว่าโพรไบโอติกจะทำงานได้ในคนส่วนมาก อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS หรือ การท้องเสียเรื้อรังจากการกินยาปฏิชีวนะ จะต้องกินในปริมาณที่สูงกว่านี้ ทั้งนี้สามารถดูปริมาณการกินจากผลการวิจัย
        แต่ก็ถ้าใส่เยอะเกินไป เช่น มากกว่า 1 แสนล้านตัว จะไม่มีประโยชน์ครับ ส่วนที่เพิ่มมากไม่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม

        6. โพรไบโอติกที่มีหลายหลายเกินไป การที่ใส่ประเภทของโพรไบโอติกมากเกินไป อาจจะทำให้ได้ผลน้อยลงเพราะแต่ละตัว ต่างไปแย่งอาหาร และพื้นที่การเติบโตกัน อีกทั้งทำให้จำนวนต่อตัวที่ใส่มีปริมาณน้อยเกินไป เช่น ใส่โพรไบโอติก 10 ชนิด ปริมาณ 6 พันล้านตัว จะตกตัวละแค่ 600 ล้านตัวซึ่งอาจจะน้อยเกินไป

        แค่ทำตามข้อแนะนำทั้งหมดนี้ ก็มั่นใจได้แล้วครับว่าโพรไบโอติกที่เรากินเข้าไป ไม่ได้กินแล้วเสียเปล่า ร่างกายได้รับประโยชน์เต็มที่ และนอกจากการทานโพรไบโอติกแล้ว ก็ควรดูแลสุขภาพโดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอควบคู่ไปด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอกในระยะยาวนะครับ

        ถ้าคุณอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติกปูพื้นตั้งแต่พื้นฐาน ลองอ่านบทความนี้ครับ โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน – Tactiva

        หรือถ้าคุณลูกค้าไม่อยากคิดมากและ อยากจะรับประทานโพรไบโอติกที่ผ่านการคิดมาอย่างดี โดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ทำงานเรื่องโพรไบโอติกมากกว่า 10 ปี มีปริมาณมาก และมีผลงานวิจัย อยากให้ทดลอง Tactiva Rise Up probiotic หรือ Tactiva Daily Up probiotic รับรองว่าได้ประโยชน์ครบถ้วน สามารถติดต่อปรึกษาได้ทาง Line หรือช่องทางอื่นๆได้เลยครับ

        บทความแนะนำ
        พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
        โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
        เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
        6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
        อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
        เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
        โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
        ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
        อาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก (PROBIOTIC) เยอะกว่า คุ้มค่ากว่า จริงหรือ?
        วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ประสิทธิภาพ Tactiva โปรไบโอติก: ผลการวิจัยในเชื้อโปรไบโอติกในแต่ละตัว
        เรื่องน่าทึ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้ ลำไส้ทำหน้าที่อะไร ทำไมมีแบคทีเรียในลำไส้เป็นล้านตัว
        ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร อาการเป็นอย่างไร การทานโพรไบโอติกช่วยป้องกันลำไส้ขี้เกียจได้หรือไม่
        บทความอื่นๆ

        ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

        ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
        *สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น