โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น

โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic

โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น แคลเซียม โปรตีน วิตามินบี และในช่วงหลังมานี้ผู้บริโภคก็เริ่มคุ้นเคยกับชื่อ “โพรไบโอติก” (Probiotic) ที่หลายแบรนด์หยิบมาใช้ทำการตลาดมากขึ้น ด้วยความที่เป็นแบคทีเรียดีที่ร่างกายของเราต้องการและช่วยส่งเสริมการทำงานของหลายๆ ระบบ โดยเฉพาะการย่อย การขับถ่าย และส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
การที่ผู้บริโภคหันมาสนใจเพิ่มการดูแลตัวเองด้วยโพรไบโอติกถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีหลายท่านที่ไม่ทราบวิธีการเลือกทานโพรไบโอติกให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพราะมีความเข้าใจว่าการทานโยเกิร์ตไม่ว่าจะเป็นของแบรนด์อะไรก็ได้โพรไบโอติกเหมือนกันหมด ซึ่งความจริงแล้วอาจไม่เป็นแบบนั้น

โยเกิร์ตทุกชนิด มีโพรไบโอติกที่เราต้องการจริงหรือ?

โยเกิร์ตไม่ได้มีแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) เสมอไป เพราะบางแบรนด์จะใช้เชื้อสายพันธุ์อื่นมาหมักนมให้เกิดเป็นเนื้อโยเกิร์ตเท่านั้น เราจึงได้แค่ความอร่อยแต่ไม่ได้ประโยชน์จากแบคทีเรียดี (วิธีสังเกตคือที่บรรจุภัณฑ์จะไม่ระบุว่ามีแบคทีเรียที่มีชีวิต)
ในส่วนของโยเกิร์ตที่ใช้แบคทีเรียดีในการหมัก บางแบรนด์ก็อาจจะไม่ได้ใช้สายพันธุ์ที่ดูแลลำไส้หรือให้ประโยชน์ตามที่เราต้องการได้ เพราะในธรรมชาติแล้วจะมีแบคทีเรียอยู่นับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกสายพันธุ์จะถูกหยิบขึ้นมาทำการวิจัยแม้แต่ในโยเกิร์ตบางแบรนด์ที่อาจจะไม่ได้เน้นชูจุดขายเรื่องโพรไบโอติก จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำวิจัยถึงประโยชน์ของสายพันธุ์ที่มีในโยเกิร์ตของตัวเองอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าโพรไบโอติกที่ไม่มีงานวิจัยรองรับจะไม่มีประโยชน์เสมอไปนะครับ เพียงแต่เราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าทานไปแล้วจะได้ประโยชน์ตามที่คาดหวังหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นเหมือนการเสี่ยงดวง ถ้าบังเอิญทานโพรไบโอติกสายพันธุ์ใกล้เคียง หรือเป็นสายพันธุ์ที่สามารถส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ของเราได้ ก็ถือเป็นความโชคดีของผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช่ก็อาจต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่เพื่อหาสิ่งที่ใช่อีกที

วิธีเลือกโยเกิร์ตให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  • หากเราตั้งใจจะทานโยเกิร์ตเพื่อส่งเสริมสุขภาพดีทุกวัน ควรเลือกโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ที่ไม่มีการเติมน้ำตาล ส่วนผสมหรือรสชาติอื่นๆ เข้าไป เช่น เนื้อผลไม้เชื่อม วุ้นผลไม้ คุ๊กกี้หรือขนมอบที่บดเป็นชิ้นเล็กๆ สิ่งเหล่านี้มักมีน้ำตาลสูง 
  •  เลือกโยเกิร์ตที่มีโปรตีนสูง เพราะโปรตีนจะช่วยให้เรารู้สึกอยู่ท้องและอิ่มนาน โดยเฉพาะผู้ที่พยายามคุมน้ำหนัก การทานโปรตีนอย่างเพียงพอจะช่วยลดความรู้สึกอยากทานจุกจิกได้ โยเกิร์ตที่คุณทานควรมีโปรตีนอย่างน้อย 5 กรัม ต่อถ้วย ซึ่งกรีกโยเกิร์ตจะมีโปรตีนมากที่สุดเมื่อเทียบกับโยเกิร์ตชนิดอื่นๆ บางตัวมีโปรตีนสูงถึง 16 กรัม ต่อถ้วย เลยทีเดียว
  • ให้ความสำคัญเรื่องการเลือกโยเกิร์ตที่มีผลการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ ว่าสามารถให้ผลได้จริงในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะลำไส้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรโฟกัสมากกว่าใส่โพรไบโอติกมาให้กี่สายพันธุ์ (การใช้สายพันธุ์เยอะ ไม่ได้แปลว่าจะดีกว่า ถ้าสายพันธุ์ที่ให้มาไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเลย)

หากไม่อยากทานโยเกิร์ต มีทางเลือกอื่นที่ทำให้เราได้ทานโพรไบโอติกทุกวันไหม

ถึงจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบทานโยเกิร์ต อาจเพราะไม่ชอบรสชาติ อยากเลี่ยงการทานน้ำตาล (โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ก็ยังมีน้ำตาลอยู่นะ) รู้สึกยุ่งยากที่ต้องเก็บในตู้เย็น ก็ยังมีทางเลือกอื่นที่ช่วยให้ได้รับโพรไบโอติกทุกวัน และให้ได้มากกว่าการทานโยเกิร์ตด้วยซ้ำ

นั่นก็คือการทานอาหารเสริมโพรไบโอติก ที่ส่วนใหญ่จะใส่โพรไบโอติกมาในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายต้องการมาให้อยู่แล้วต่อ 1 หน่วยบริโภค (ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้าน CFU) ทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะได้รับโพรไบโอติกเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทานตัวไหนก็ได้ เพราะแต่ละแบรนด์ก็เลือกชูจุดขายที่ต่างกัน ทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์และสายพันธุ์ที่ใช้ การเลือกโพรไบโอติกให้ตอบโจทย์กับเรามากที่สุด มีวิธีเลือกตามนี้

  1. เลือกแบรนด์ที่ใช้สายพันธุ์ที่มีจุดเด่นในเรื่องการดูแลสุขภาพตามที่เรามองหา โดยเฉพาะสามารถดูแลและฟื้นฟูสุขภาพลำไส้ของเราได้ และที่สำคัญต้องมีงานวิจัยรับรองว่าสามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจและมีความปลอดภัย หลังผ่านการทดสอบกับผู้ใช้จริง
  2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทนความเป็นกรดของน้ำย่อยได้ เพราะกว่าจะไปถึงลำไส้ อาหารเสริมโพรไบโอติกต้องเจอกับน้ำย่อยที่มีอยู่ตลอดทั้งทางเดินอาหาร ดังนั้นการบรรจุในแคปซูลที่ทนความเป็นกรด (Acid Resistant) จึงช่วยปกป้องไม่ให้โพรไบโอติกตายและคงคุณภาพสูงจนไปถึงลำไส้ได้
  3. เป็นอาหารเสริมที่ผลิตในโรงงานที่ออกแบบมาเพื่อการผลิตอาหารเสริมโพรไบโอติกโดยเฉพาะ ทุกขั้นตอนมีมาตรฐานที่ช่วยรักษาคุณภาพของโพรไบโอติก จนกระทั่งบรรจุขวดและส่งถึงมือผู้บริโภค

จะทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมโพรไบโอติก สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ความสะดวกและความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไรก็ต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพและประโยชน์สูงสุดที่เราจะได้รับเป็นอันดับแรกเสมอนะครับ

บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ทานซุปหม่าล่าอร่อยเพลิน ระวังเผ็ดเกินจนเดือดร้อนลำไส้ แต่โพรไบโอติกช่วยคุณได้นะ
ทำไมเราจึงควรเลี้ยงแบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) มีประโยชน์อย่างไรกับร่างกาย
ลดไวจนน่าใจหาย เมื่อความหลากหลายของแบคทีเรียดีในลำไส้ ยิ่งลดลงตามอายุที่มากขึ้น
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น