ลดไวจนน่าใจหาย เมื่อความหลากหลายของแบคทีเรียดีในลำไส้ ยิ่งลดลงตามอายุที่มากขึ้น

แบคทีเรียดี-โพรไบโอติก-ลด-อายุมาก-คนแก่-วัยชรา

ความแก่ชราไม่ได้เกิดขึ้นกับร่างกายของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ อย่างโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ดีที่คอยดูแลตามส่วนต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ปกติ โดยเฉพาะในลำไส้ของเราที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่มากที่สุด

การจะมีลำไส้ที่แข็งแรง ต้องอาศัยการดูแลจากจุลินทรีย์หลายชนิด ที่อยู่รวมกันเหมือนเป็นชุมชนของตัวเอง หรือที่เรียกว่าไมโครไบโอม (microbiome) ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ รวมถึงทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมสารอาหารสำคัญไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในในร่างกายต่อไป

ดังนั้นเมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในแง่ของการมีความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่ลดลง จึงสามารถส่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเราได้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงก็มีได้หลายอย่าง เช่น พฤติกรรมการกิน รูปแบบการใช้ชีวิต การเจ็บป่วย

อายุส่งผลต่อไมโครไบโอมหรือชุมชนจุลินทรีย์ได้อย่างไร

เมื่ออายุเพิ่ม อวัยวะและระบบในร่างกายก็จะเกิดความเสื่อมตามธรรมชาติอยู่แล้ว เหมือนกับการใช้รถยนต์ ที่ปีแรกๆก็ขับไปไหนได้ไกลๆ ไม่พังไม่เสียจนต้องเอาไปซ่อม แต่พอเราใช้รถคันนั้นไปเรื่อยๆ เครื่องยนต์ที่ใช้งานมาต่อเนื่องก็เกิดความเสื่อมจนเริ่มมีอาการผิดปกติ 

ร่างกายของเราก็คล้ายกันตรงที่อวัยวะจะมีการเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ถูกใช้งาน รวมถึงจำนวนจุลินทรีย์ที่ความหลากหลายจะค่อยๆลดลง เป็นไปตามความเสื่อมของร่างกายด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้มีแค่ปัจจัยด้านเวลาอย่างเดียว ยังมีในส่วนของรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งผลได้โดยตรงต่อพัฒนาการ ความเสื่อมของร่างกาย และความหลากหลายของจุลินทรีย์จากเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ด้วย

ถึงแม้ในวัยเด็กเราจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เลือกทานอาหารมีประโยชน์ ดูแลสุขอนามัย เจ็บป่วยน้อย ไม่ค่อยได้ใช้ยารักษาโรค จนทำให้เรามีร่างกายและสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่อย่าลืมว่าอายุของเราเพิ่มขึ้นไปทุกปี วิถีชีวิตของเราก็เปลี่ยนไปด้วย 

ถ้าเรายังสามารถดูแลสุขภาพ รักษาคุณภาพชีวิตให้ดีได้ต่อเนื่องทุกช่วงวัย ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ดีตามไปด้วย แต่ถ้าเรามีพฤติกรรมทำลายสุขภาพก็ยิ่งเป็นการเร่งให้จุลินทรีย์ถูกทำลายได้เร็วขึ้น เมื่อมาถึงจุดที่เข้าสู่วัยชราก็จะพบว่าร่างกายของเราเปลี่ยนไปมาก เพราะเราปล่อยให้แบคทีเรียก่อโรคเข้าชิงพื้นที่นานเกิดไป จนชุมชนจุลินทรีย์ของเราขาดความหลากหลายและเสียสมดุล ทำให้การทำหน้าที่ของลำไส้แย่ลงทั้งการย่อย การดูดซึมสารอาหาร การขับถ่าย รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เราจึงเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย เมื่อป่วยก็ต้องเข้ารับการรักษาควบคู่กับการทานยารักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เพียงเข้าไปทำลายแบคทีเรียก่อโรค แต่ยังเข้าไปทำลายความหลากหลายของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ด้วย ลำไส้อ่อนแอไม่เพียงแค่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันที่แย่จนเกิดความเจ็บป่วยทางกายได้ง่าย แต่ยังรวมถึงส่วนของสภาวะทางอารมณ์ การนอนหลับ ความสามารถในการจดจำก็แย่ลงไปด้วยได้ เพราะสารสื่อประสาทที่ควบคุมกลไกร่างกายส่วนนี้ถูกผลิตที่ลำไส้และถูกส่งต่อไปยังสมองได้น้อยลง

เราจะรักษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ทั้งในลำไส้และส่วนอื่นๆของร่างกายได้อย่างไร

จากทั้งหมดที่กล่าวมาก็จะเห็นได้ว่า สุขภาพที่แข็งแรงมาคู่กับความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องของคนทุกวัย ซึ่งสามารถดูแลตัวเองง่ายๆได้ทุกวันดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้เวลาร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง และกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนสำคัญ 
  2. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด ออกไปทำกิจกรรมที่ชอบ 
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อกระตุ้นการเผาผลาญ การไหลเวียนเลือด และการขับถ่าย
  4. ทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน รวมถึงได้อาหารให้กับจุลินทรีย์ในร่างกาย
  5. เสริมจุลินทรีย์ดีอย่างโพรไบโอติก ที่สามารถเข้าไปช่วยส่งเสริมการเติบโตของจุลินทรีย์ดี จนมีความหลากหลายของสายพันธุ์ และมีจำนวนมากพอที่จะปกป้องลำไส้และร่างกายโดยรวมจากการโจมดีของแบคทีเรียก่อโรคได้
บทความแนะนำ
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ประสิทธิภาพ Tactiva โปรไบโอติก: ผลการวิจัยในเชื้อโปรไบโอติกในแต่ละตัว
ภาวะอุจจาระตกค้าง ไม่ว่าใครก็มีความเสี่ยง อยากหลีกเลี่ยงต้องทำอย่างไร โพรไบโอติกช่วยได้ไหม
กลั้นอุจจาระบ่อยมีผลเสียอย่างไร เสี่ยงมะเร็งลำไส้จริงหรือ
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น