เป็นไข้หวัดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ระวังกินพร่ำเพรื่อ ส่งผลทั้งดื้อยาและทำลายแบคทีเรียดีในลำไส้

ยาปฏิชีวนะ ทำลาย โพรไบโอติก แบคทีเรียดี

ทุกๆช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะหน้าฝน ของฝากที่เราไม่อยากได้มักจะมาในรูปแบบของอาการเจ็บป่วย อย่างไข้หวัด ที่ไม่ว่าคนในวัยไหนก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยิ่งอยู่ในช่วงร่างกายอ่อนแอ ไข้หวัดก็จะฉวยโอกาสมาจู่โจมเราได้ง่ายๆ พอเราเจ็บป่วยแล้วอยากหายไวก็จะใช้การกินยาเพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็มีเรื่องน่ากังวลที่หลายคนมองข้ามนั่นก็คือผลเสียจากการใช้ยาที่ผิดวิธี ที่สามารถกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงการสูญเสียแบคทีเรียดีโดยเฉพาะโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้

อาการหวัดเกิดจากอะไร มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสกันแน่

อาการหวัดโดยทั่วไปที่เราเป็นกันจะมีอาการไม่สบายตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ มีไข้ต่ำ อาจมีปวดกล้ามเนื้อหรือศีรษะเล็กน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการการติดเชื้อไวรัสมากกว่าเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อนี้เกิดขึ้นที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ตั้งแต่จมูก ปาก ลำคอ เชื้อไวรัสตัวต้นเหตุมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ที่มักพบบ่อยคือไรโนไวรัส
แต่ในกรณีที่มีการอักเสบที่คอหอย มีตุ่มหนองที่ทอนซิล หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบรุนแรง มีความเป็นไปได้ว่าจะติดเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นเช่นนั้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและจัดยารักษาให้เหมาะสมกับอาการ

วิธีสังเกตเบื้องต้นว่าติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

  • หวัดจากไวรัสมักมีอาการไอและอาจมีเสียงแหบด้วย แต่หวัดจากแบคทีเรียจะไม่ไอเยอะเท่าไวรัส
  • หวัดแบคทีเรีย น้ำมูกหรือเสมหะจะเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว หวัดจากไวรัสจะน้ำมูกใสกว่าและอาจมีสีเหลืองได้ด้วย
  • ถ้าพบว่ามีอาการคอแดงมาก มีต่อมทอนซิลโต บวมแดงเป็นหนอง ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต กดแล้วเจ็บ  มีความเป็นไปได้ว่าติดเชื้อแบคทีเรีย  แต่ถ้าคอดูแดงนิดหน่อยอาจสังเกตอาการต่อ เพราะอาจจะเป็นแค่การติดเชื้อไวรัสได้ 

วิธีรักษาอาการหวัดที่เกิดจากการติดเชื้อแต่ละแบบมีอะไรบ้าง

  • หวัดจากเชื้อไวรัสโดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ เน้นดูแลตัวเองโดยการนอนพักผ่อนและดื่มน้ำเยอะๆ ใช้น้ำเกลือล้างจมูก และทานยาตามอาการ เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ยาแก้ไอ ยาพาราเซตามอล และทานวิตามินซี วิตามินดี หรือสังกะสี เสริมควบคู่ไปด้วย แต่หากใครเป็นหวัดนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือ มีอาการแย่ลงในช่วง 2- 3 วัน เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะมาก หนาวสั่น ควรรีบพบแพทย์
  • ถ้าเราสังเกตอาการแล้วสงสัยว่าเป็นหวัดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อจัดยาที่เหมาะสมกับอาการ โดยเฉพาะถ้าต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (แต่ไม่ได้ช่วยทำลายเชื้อไวรัส) ยาชนิดนี้จำเป็นต้องทานต่อเนื่องให้หมด เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียถูกทำลายได้หมด ซึ่งปริมาณการใช้และระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับตัวยาแต่ละชนิดด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้จึงควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และไม่ทานยาเองพร่ำเพรื่อเพราะสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ถ้าใช้ยาปฏิชีวนะแบบไม่ระวังจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง

  • เกิดการแพ้ยา อาการที่พบจะมีตั้งแต่การมีผื่นคัน หรือรุนแรงขึ้นคือผิวหนังไหม้ หลุดลอก รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และอาจช็อคได้
  • เชื้อดื้อยา ในการยาปฏิชีวนะแต่ละครั้ง ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เชื้อดื้อยามากขึ้น เพราะเชื้อแบคทีเรียจะกลายพันธุ์เพื่อหลบหลีกไม่ให้ตัวเองถูกทำลายโดยยาตัวเดิมที่เราเคยใช้ได้อีก ครั้งต่อไปเราจึงอาจจะต้องเพิ่มปริมาณยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น สุดท้ายพอเปลี่ยนยาไปเรื่อยๆก็ไม่มีตัวไหนเอาชนะแบคทีเรียที่มีแต่จะกลายพันธุ์ได้อีกต่อไป
  • มีอาการแทรกซ้อน เกิดการติดเชื้อจากการเสียสมดุลแบคทีเรียดี เพราะยาปฏิชีวนะจะเข้าไปทำลายทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียดีที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งเสริมให้ส่วนนั้นทำงานได้เป็นปกติ โดยเฉพาะในลำไส้ที่มีแบคทีเรียดีมากที่สุด เมื่อแบคทีเรียดีมีน้อยลง เชื้อฉวยโอกาสจึงเจริญเติบโตได้ดี ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เริ่มจากการติดเชื้อรา เช่น มีเชื้อราในช่องปาก ตกขาว และอาจรุนแรงขึ้นถึงขั้นเป็นลำไส้อักเสบรุนแรง ผนังลำไส้ถูกทำลายและหลุดออกมากับอุจจาระ เกิดความเสี่ยงอันตรายถึงชีวืต

เสริมภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแกร่งอยู่เสมอด้วยโพรไบโอติก (Probiotic)

นอกจากไม่ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อแล้ว การดูแลตัวเองให้แข็งแรงและระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานได้ดีอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการเจ็บป่วยที่ดีที่สุดในระยะยาว ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาความรุนแรงของอาการก็จะน้อยกว่าและหายได้ไวกว่าเมื่อเทียบกับคนที่สุขภาพไม่ดี ซึ่งหลักการดูแลสุขภาพโดยพื้นฐานเราก็พอจะทราบกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนให้เพียงพอ และโดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่เราจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์หรือสารที่ให้โทษเข้าสู่ร่างกายก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกกินแบบไหน ในปัจจุบันคนจึงเริ่มทานอาหารเสริมกันมากขึ้น เพื่อหวังว่าจะได้เติมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นให้ร่างกายได้อย่างเพียงพอ

เติมสารอาหารแล้วสิ่งที่อยากแนะนำก็คือ การเสริมโพรไบโอติก (Probiotic) ไม่ว่าจะจากอาหารหรือในรูปแบบอาหารเสริม เพื่อให้โพรไบโอติกเข้าไปส่งเสริมการเติบโตและเพิ่มความหลากหลายของแบคทีเรียดีในร่างกาย  เพราะแบคทีเรียดีที่ว่านี้จะกระจายอยู่ทั่วร่างกาย เพื่อช่วยส่งเสริมให้ระบบต่างๆทำงานได้ดี โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร และลำไส้่ที่แบคทีเรียดีจะอาศัยอยู่มากที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ย่อย ดูดซึมสารอาหาร สร้างฮอร์โมนสำคัญ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้นการที่เราได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเต็มที่ และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง โอกาสที่เราจะเจ็บป่วยก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่ใช้ยาปฏิชีวนะก็สามารถทานโพรไบโอติกควบคู่ไปด้วย เพื่อเร่งฟื้นฟูสมดุลให้แบคทีเรียดีกลับมามีมากกว่าเชื้อก่อโรคอยู่เสมอ

บทความแนะนำ
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
อาหารเสริมโพรไบโอติกของแบรนด์ที่มีสายพันธุ์มากกว่า ย่อมดีกว่าจริงหรือ วิธีเลือกโพรไบโอติกต้องดูอะไรบ้าง
การกินอาหารดี มีประโยชน์ อาจไม่ได้ให้ผลดีกับร่างกายเสมอไป เป็นเพราะอะไรได้บ้าง
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น