เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก

แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic

ปัญหาในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบขับถ่ายไม่ว่าใครก็ต้องเคยเป็นอยู่แล้ว แต่ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะมีคนบางกลุ่มที่เป็นได้ง่ายหรือป่วยแบบเดิมซ้ำๆ เนื่องจากระบบร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด และกลุ่มนั้นก็คือคนวัยทองหรือผู้สูงอายุที่ร่างกายมีความเสื่อมถอยตามกาลเวลา ทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งปัญหาในระบบขับถ่ายที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญเป็นอันดับต้นๆ ก็คืออาการท้องผูก เราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ยังไง โพรไบโอติกช่วยได้มากแค่ไหน มาติดตามกันเลยครับ

ทำไมผู้สูงอายุวัยทอง จึงมักมีปัญหาท้องผูก

    • มีการวิจัยพบว่า ประเภทของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนสูงอายุ ได้ลดความหลายหลายไปมาก เมื่อเทียบกับ คนในวัยหนุ่มสาว ซึ่งทำให้ลำไส้เสียสมดุลได้ง่ายกว่าปกติ และมีสุขภาพลำไส้ที่แย่กว่าคนหนุ่มสาว

    • ความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ได้แย่ลง ระบบในร่างกายเปลี่ยนไป ตั้งแต่การบดเคี้ยวอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูงซึ่งผู้สูงอายุมักจะเคี้ยวไม่ได้ ประกอบกับคนวัยนี้จะทานได้น้อยลงเพราะความอยากอาหารลดลง น้ำย่อยในกระเพาะอาหารจึงลดความเป็นกรดลงเมื่อไม่มีอะไรให้ย่อย ในส่วนของลำไส้ก็ทำหน้าที่ย่อยและลำเลียงกากอาหารที่เหลือหรืออุจจาระไปที่ทวารหนักได้ยากขึ้น เพราะลำไส้บีบตัวได้ช้าลง ของเสียที่ไม่ถูกขับหรือขับออกได้น้อยก็จะยิ่งสะสมไปเรื่อยๆ เกิดเป็นอาการท้องผูกที่รุนแรงขึ้น

 

    • ทานอาหารประเภทผักหรือผลไม้น้อยเกินไป ทำให้ขาดกากใยที่จะเข้าไปทำให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่มและมีปริมาณมากพอที่ร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย ยิ่งปล่อยไว้นานๆ อุจจาระที่สะสมยิ่งแข็งตัวและถ่ายยากมากขึ้น 

 

    • ดื่มน้ำน้อยเกินไป เพราะส่วนที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี และอีกสาเหตุคือผู้สูงอายุมักจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จึงเลี่ยงที่จะดื่มน้ำปริมาณมาก เมื่อร่างกายมีน้ำไม่พอก็จะเริ่มดึงน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารซึ่งก็คืออุจจาระที่ต้องถูกขับออกมายิ่งแห้ง แข็ง ถ่ายออกยาก จนกลายเป็นอาการท้องผูก

 

    • เคลื่อนไหวน้อยและชอบกลั้นอุจจาระ ด้วยสภาพร่างกายที่ทำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวได้ช้าลง ทำอะไรไม่สะดวก จึงทำให้บางคนเลี่ยงที่จะขยับร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ หรือไม่อยากออกกำลังกาย ระบบขับถ่ายจึงไม่ถูกกระตุ้นให้ทำงานเท่าที่ควร และด้วยความที่ทำอะไรไม่สะดวกนี้เองก็ทำให้เลือกที่จะกลั้นอุจจาระ เพราะลุกไปเข้าห้องน้ำได้ลำบาก เมื่อทำพฤติกรรมแบบนี้สะสมไปเรื่อยๆ ก็เกิดเป็นอาการท้องผูกในเวลาต่อมาได้ง่าย

 

    • อาการเจ็บป่วยหรือโรคบางชนิดทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานได้ไม่ดี  จึงบีบกากอาหารลงมาที่ทวารหนักได้น้อยลง เกิดเป็นอุจจาระตกค้างในลำไส้ 

 

    • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านซึมเศร้า ซึ่งผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้ก็ไม่ควรซื้อยาระบายมาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ให้ช่วยปรับยาหรือแนะนำวิธีรักษาอาการเหล่านี้จะดีที่สุด

วิธีแก้ปัญหาท้องผูกสำหรับคนวัยทอง ต้องทำอย่างไรบ้า

 

    • หาวิธีที่ทำให้ดื่มน้ำได้เยอะขึ้น เช่น การวางขวดน้ำในจุดที่หยิบได้ง่าย ไม่ต้องลุกเดินไกลๆ หรือ การแบ่งเวลาดื่มน้ำเป็นหลายช่วงใน 1 วัน

    • หากิจกรรมเบาๆ ที่เหมาะกับสภาพร่างกาย  เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การเดินแกว่งแขนเบาๆในช่วงเช้า

    • ฝึกนิสัยขับถ่ายให้เป็นเวลา แม้ช่วงนั้นจะยังไม่ปวดมาก ก็ควรฝึกเข้าห้องนำ้ในช่วงเวลานั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชินและปรับตัวตามกิจวัตรของเรา

    • ดูแลเรื่องอาหารตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบและเมนู ต้องเลือกที่มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย เลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ทานอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น และเน้นการปรุงที่ทำให้อาหารเคี้ยวหรือย่อยง่าย เช่น การต้มให้เปื่อย การบดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะผู้สูงอายุมักมีปัญหาที่ว่านี้จนทำให้ทานผัก ผลไม้ได้น้อยกว่าที่ควร

    • ทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูงหรือทานผลิตภัณฑ์เสริมโพรไบโอติกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีจุลินทรีย์ชนิดดีมากพอที่จะไปส่งเสริมการทำงานในระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายได้

โพรไบโอติก ช่วยดูแลสุขภาพและระบบขับถ่ายได้อย่างไร

โดยธรรมชาติแล้วในเราไส้ของเราจะมีโพรไบโอติกอาศัยอยู่ และทำหน้าที่ปรับสมดุลภายในให้ลำไส้ทำงานได้ปกติ ซึ่งโพรไบโอติกจเริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่

1. กระบวนการย่อย ที่โพรไบโอติกจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างเอนไซม์หลายชนิดออกมาย่อยอาหาร

2. ช่วยให้เกิดการดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่เพราะโพรไบโอติกจะคอยขัดขวางแบคทีเรียก่อโรคไม่ให้มาเกาะที่ผนังลำไส้ สารอาหารจึงสามารถซึมผ่านผนังลำไส้และกระจายไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกายได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังเป็นตัวที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ออกมาต่อสู่กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่พยายามจะเข้ามาทำร้ายร่างกายด้วย

3. ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ปกติ ซึ่งรวมถึงลำไส้สามารถบีบตัวได้ตามธรรมชาติ ทำให้ลำเลียงกากอาหารที่เหลือจากการย่อยลงไปที่ทวารหนักและถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย

จะเห็นได้ว่าโพรไบโอติกส่งเสริมการทำงานภายในลำไส้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งถ้าเรารักษาสมดุลของจุลินทรีย์ดีอย่างโพรไบโอติก ให้มีมากกว่าแบคทีเรียร้ายได้ ระบบขับถ่ายก็จะทำหน้าที่ได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพอื่นๆ มากวนใจ นอกจากได้ดูแลสุขภาพกายแล้ว การมีลำไส้ที่แข็งแรงก็ทำให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นด้วยได้ เพราะลำไส้เป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนแห่งความสุข หรือ เซโรโทนิน ออกมามากที่สุด ยิ่งผลิตเซโรโทนินออกมาได้มาก ก็ยิ่งส่งผลต่อการมีอารมณ์ที่แจ่มใส สมองปลอดโปร่ง มีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และช่วยให้นอนหลับสบายขึ้นด้วย

บทความแนะนำ
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
อาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก (PROBIOTIC) เยอะกว่า คุ้มค่ากว่า จริงหรือ?
ผลเสียจากการใช้ยาระบายบ่อย ระวังดื้อยาจนถ่ายเองไม่ได้
ภาวะอุจจาระตกค้าง ไม่ว่าใครก็มีความเสี่ยง อยากหลีกเลี่ยงต้องทำอย่างไร โพรไบโอติกช่วยได้ไหม
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น