เมื่อแบคทีเรียในลำไส้ส่งผลต่อการนอน นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เพราะโพรไบโอติกในลำไส้เสียสมดุลจริงหรือ

แบคทีเรีย-ในลำไส้-คือสาเหตุ-ทำให้นอนไม่หลับ

คุณเป็นอีกคนที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง อ่อนเพลียง่ายหรือเปล่า? ปัญหานี้ดูเหมือนเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนวัยทำงานและผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ และคนก็มักจะรู้แค่ว่าสาเหตุมาจากความเครียดและสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์จากความเจ็บป่วย ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีอีกสาเหตุที่หลายคนไม่รู้ นั่นก็คือการที่แบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้เสียสมดุล

โพรไบโอติกทำหน้าที่อะไรเมื่ออยู่ในลำไส้

โดยปกติแบคทีเรียดีจะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และสร้างระบบนิเวศน์ของตัวเอง ยิ่งชุมชนจุลินทรีย์มีความหลากหลายและมีประชากรมาก ก็ยิ่งทำหน้าที่ส่งเสริมระบบร่างกายในส่วนนั้นให้ทำงานได้ดี ในส่วนของลำไส้ที่มีความหลากหลายของแบคทีเรียดีมากที่สุด โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ชื่อโพรไบโอติก (Probiotic) ก็จะอาศัยแรงงานจากเจ้าจุลินทรีย์เหล่านี้ในการทำหน้าที่สำคัญ ได้แก่

  • ช่วยย่อยและกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ออกมาช่วยย่อยอาหาร ยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียร้ายไม่ให้มารบกวนการดูดซึมสารอาหารที่ผนังลำไส้
  • กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์ ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรู้สึกหิวหรืออิ่ม ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างพอเหมาะ
  • กระตุ้นให้ลำไส้เกิดการบีบตัว เพื่อขับของเสียในรูปอุจจาระออกสู่ร่างกายได้ตามปกติ

โพรไบโอติก ส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร

ดูเหมือนว่าหน้าที่ของโพรไบโอติก (Probiotic) จะเกี่ยวข้องกับการย่อยและการขับถ่าย แล้วมาส่งผลต่อการนอนหลับได้ยังไง ก็ต้องขอขยายความจากที่เพิ่งเล่าไปแล้วว่า ลำไส้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือฮอร์โมนที่ชื่อว่าเซโรโทนิน ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการเคลื่อนตัวและการหลั่งน้ำย่อยในลำไส้ นอกจากนี้เซโรโทนินยังถูกส่งขึ้นไปยังส่วนสมอง เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมสภาวะทางอารมณ์ รวมถึงการนอนหลับด้วย

เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยส่งสัญญาณจากสมองในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณ และมีส่วนสำคัญในการควบคุมเซลล์สมองที่เกี่ยวกับด้านอารมณ์ความรู้สึก การเรียนรู้จดจำ ความต้องการทางเพศ ความอยากอาหาร และการนอนหลับ ซึ่งเซโรโทนินจะถูกผลิตที่ลำไส้มากถึง 90% ดังนั้นถ้าลำไส้อ่อนแอก็จะผลิตเซโรโทนินได้น้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อการมีสภาวะทางอารมณ์ที่แย่ลง ทั้งขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อ่อนเพลีย และนอนหลับได้ยาก

เราจะเพิ่มจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อดูแลลำไส้ได้อย่างไรบ้าง

1. การปรับพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดี ได้แก่ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ปล่อยให้ตัวเองเครียดนานๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. เน้นทานผักที่มีกากใยสูง เพราะเป็นอาหารของโพรไบโอติก ลดการทานอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง เลี่ยงอาหารแปรรูปและเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. ทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง ซึ่งมักเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ยกตัวอย่างเช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ ซุปมิโซะ ถั่วนัตโตะ ชาหมักคอมบูชา
4. ทานอาหารเสริมโพรไบโอติก ซึ่งก็ควรเลือกสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรับรองว่าดูแลลำไส้ได้จริง และมีผลการทดสอบจากผู้ใช้จริงว่าทานได้อย่างปลอดภัย ที่สำคัญคือต้องมีปริมาณโพรไบโอติกมากเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย (อย่างน้อย 1,000 ล้าน CFU) รูปแบบของอาหารเสริมก็สำคัญ ควรเลือกโพรไบโอติกที่บรรจุในแคปซูลทนกรด เพื่อลดโอกาสที่โพรไบโอติกจะตายระหว่างทางจากการโดนน้ำย่อยในทางเดินอาหารทำลาย

การดูแลตัวเองที่เราแนะนำมาทั้งหมด ไม่เพียงช่วยเพิ่มโพรไบโอติกในร่างกาย เพื่อเพิ่มเซโรโทนินที่ส่งผลต่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเท่านั้น แต่ทุกข้อล้วนเป็นวิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ที่ช่วยให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว

บทความแนะนำ
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
โพรไบโอติก แคปซูล ทนกรด ไม่ละลาย
โพรไบโอติกที่บรรจุในแคปซูลทนกรด (Acid resistant capsule) ดีกว่าอย่างไร
ถ่ายเองไม่ได้-เพราะใช้ยาถ่ายนาน-ผู้สูงอายุ-ท้องผูก
ผลเสียจากการใช้ยาระบายบ่อย ระวังดื้อยาจนถ่ายเองไม่ได้
กลั้นอุจจาระ-เสี่ยงมะเร็งลำไส้-ป้องกัน-โพรไบโอติก
กลั้นอุจจาระบ่อยมีผลเสียอย่างไร เสี่ยงมะเร็งลำไส้จริงหรือ
ต้านโควิด-สายพันธุ์ใหม่-โพรไบโอติก-probiotic
ตั้งรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ (Covid) ด้วยโพรไบโอติก แบคทีเรียดีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากภายในให้แกร่งไม่มีตก
บทความอื่นๆ
 ประโยชน์
โพรไบโอติก มีวิธีเลือกอย่างไร แบบไหนจะได้ประโยชน์สูงสุด
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
โพรไบโอติก-probiotic-หลายสายพันธุ์-ดีกว่า-จริงหรือ-วิธีเลือก-โพรไบโอติก-ให้ได้-ประโยชน์
อาหารเสริมโพรไบโอติกของแบรนด์ที่มีสายพันธุ์มากกว่า ย่อมดีกว่าจริงหรือ วิธีเลือกโพรไบโอติกต้องดูอะไรบ้าง

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น