พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย

ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ

ภาวะลำไส้รั่ว อาจไม่ใช่อาการที่ติดหูเป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่ แต่พูดแค่ชื่อก็น่ากลัวมากแล้วใช่ไหมครับ เพราะอย่างที่รู้กันว่าลำไส้เป็นจุดที่ทำหน้าที่ย่อย ดูดซึมสารอาหารต่างๆ และมีแบคทีเรียมากมายทั้งชนิดดีและไม่ดีอาศัยอยู่ตรงนั้น แล้วเมื่อเกิดการรั่วขึ้น แน่นอนว่ามีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพตามมามากกว่าที่คุณจะนึกถึงได้ และไม่ใช่แค่อาการท้องเสียเรื้อรังหรือท้องผูกเท่านั้น แต่แย่ไปถึงระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย

อาการแบบไหนเสี่ยงเป็นภาวะลำไส้รั่ว

  • ท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับ ท้องผูก
  • มีอาการแพ้อาหารแฝงแบบไม่รุนแรง หรือย่อยอาหารบางอย่างได้ยาก เช่น แป้ง น้ำตาล ทำให้มักมีอาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง  ท้องอืด ท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวขึ้นง่ายกว่าแต่ก่อน ทั้งที่ไม่ได้ทานอาหารเยอะเกินปกติ
  • ปวดศีรษะบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดไมเกรน หรือรู้สึกปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย
  • ผิวหนังมีอาการแพ้ คัน เป็นลมพิษ เป็นผื่นแดงหรือสิวเรื้อรัง
  • อ่อนเพลียง่าย แม้จะพักผ่อนเพียงพอ มือเท้าเย็น

สาเหตุของลำไส้รั่ว เกิดจากอะไร

โดยปกติเซลล์เยื่อบุลำไส้ของเราจะชิดติดกันโดยมีตัวเชื่อมเซลล์ที่ชื่อว่า tight junctions เป็นตัวยึดให้ทุกเซลล์เชื่อมติดกันอย่างเป็นระเบียบและเป็นตัวที่ควบคุมการดูดซึมสารอาหารจากผนังลำไส้ไปสู่กระแสเลือดเพื่อออกไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ป้องกันสารพิษหรือเชื้อโรคไม่ให้แทรกซึมผ่านผนังลำไส้ออกไปสู่กระแสเลือดด้วยแต่เมื่อเกิดการอักเสบที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ซ้ำๆ เป็นเวลายาวนาน  tight junctions ที่คอยยึดเซลล์เอาไว้ก็ถูกทำลายเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ทำให้สิ่งแปลกปลอม ทั้งสารพิษ สารเคมี สารก่อภูมิแพ้ สามารถไหลผ่านช่องว่างเข้าไปสู่กระแสเลือดได้ง่ายๆ แบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ถูกทำลาย ทำให้แบคทีเรียก่อโรคยิ่งเติบโตง่ายขึ้นรวมถึงเล็ดลอดเข้าไปสู่กระแสเลือดได้พร้อมกับสิ่งแปลกปลอมอื่นๆด้วย

ซึ่งการที่บริเวณผนังลำไส้ไม่สามารถควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆได้ เรียกว่าภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ร่างกายจึงกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้เร่งสร้างภูมิขึ้นมาต่อสู้สิ่งไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ยิ่งปล่อยไว้นานการอักเสบที่เกิดซ้ำๆ ก็ทำให้เกิดเป็นความเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้น โดยปรากฏเป็นอาการต่างๆ ตามที่เราได้ยกตัวอย่างข้างต้น

สามารถใช้วิธีทางการแพทย์ตรวจหาภาวะลำไส้รั่วได้หรือไม่

ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีที่เฉพาะเจาะจงในการตรวจหาภาวะลำไส้รั่ว เพราะอาการนี้ไม่สามารมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงใช้การส่องกล้องหรือฉายรังสีเพื่อตรวจหาไม่ได้ ซึ่งวิธีวินิจฉัยที่แพทย์ใช้ได้แก่

  • การทดสอบการดูดซึมสารอาหารของลำไส้ (Lactulose–Mannitol Test)
  • การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test)

ในส่วนของการรักษาภาวะลำไส้รั่ว ก็ยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาโดยเฉพาะเช่นกัน แต่จะเป็นการรักษาตามอาการป่วยที่เป็น เช่น การทานยาลดกรดเมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อยหรือท้องอืด การทายาสเตียรอยด์เมื่อมีผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบ ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หากไม่ดูแลสุขภาพ

วิธีป้องกันและรักษาภาวะลำไส้รั่วระยะยาวทำได้อย่างไรบ้าง

1. ปรับพฤติกรรม ลดสิ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงจากความเครียด (ทำให้ร่างกายหลังฮอร์โมนคอติซอลที่ทำให้เซลล์ในลำไส้อักเสบได้) งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
2. ปรับเรื่องโภชนาการ ทานอาหารให้หลากหลายเพื่อลดโอกาสที่ลำไส้จะได้รับสารเคมีชนิดเดิมซ้ำๆเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ลดแป้งและน้ำตาล ทานผักใบเขียวที่มีไฟเบอร์ให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
3. หากทราบว่ามีอาการแพ้ต่ออาหารชนิดไหนแล้ว ก็ควรงดอย่างน้อย 3- 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายกำจัดภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมาต่อต้านอาหารที่แพ้ออกไปให้หมดก่อน
4. ลดการใช้ยารักษาโรคแบบพร่ำเพรื่อ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ที่มีผลโดยตรงต่อแบคทีเรียดีในลำไส้  หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และควรทานให้ครบตามระยะเวลารักษา ถ้าทานยาปฏิชีวนะ เราแนะนำให้ทานโพรไบโอติกกันไว้ได้เลย
5. เสริมแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งเป็นตัวที่ช่วยให้การทำงานของลำไส้ทั้งในส่วนการย่อย ดูดซึมสารอาหาร สร้างฮอร์โมนสำคัญและภูมิคุ้มกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเข้าไปจับที่ผนังลำไส้แทนที่แบคทีเรียก่อโรค

เราสามารถเสริมโพรไบโอติกได้จากการทานอาหารที่ผ่านการหมักดอง เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ ถั่วหมัก หรืออีกวิธีที่ง่ายและสะดวกขึ้นคือการทานโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม ที่ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุด รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยลดโอกาสการตายของเชื้อระหว่างอยู่ในทางเดินอาหารได้ คุณจึงมั่นใจได้มากกว่าว่าจะได้รับโพรไบโอติกในปริมาณที่มากพอกับความต้องการของร่างกาย

เชื่อเถอะครับว่าการป้องกันอาการเจ็บป่วยทำได้ง่ายกว่าการรักษาจริงๆ โดยเฉพาะโรคที่มีความซับซ้อนในการวินิจฉัยหาสาเหตุ  และยังไม่มีวิธีรักษาแบบเฉพาะเจาะจงอย่างภาวะลำไส้รั่วนี้  อาจจะต้องฝืนตัวเองหน่อยในช่วงแรก แต่ถ้าทำจนติดเป็นนิสัยแล้วรับรองว่าดีต่อสุขภาพระยะยาว หรือแม้แต่คนที่เริ่มมีอาการป่วยในระยะเริ่มต้นก็มีโอกาสกลับมามีร่างกายปกติได้เร็วขึ้น

บทความแนะนำ
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ผู้สูงอายุทานโพรไบโอติกแก้ท้องผูกได้ไหม? มาดูประสบการณ์ดูแลลำไส้ของลูกค้าวัย 99 ปี ที่ทาน Tactiva เป็นประจำ 
รับมือกับภาวะซึมเศร้าช่วงหน้าฝนด้วยโพรไบโอติก ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปพร้อมกัน
น้ำหนักไม่ยอมลด ทั้งที่คุมอาหาร ออกกำลังกายหนัก เป็นเพราะอะไร การขับถ่ายมีผลไหม?
ท้องผูกแก้ไม่หาย ทั้งที่กินผักเยอะ เกิดจากอะไร
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น