6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้

ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก

นอกจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนมักเชื่อมโยงไปถึงการเป็นแบคทีเรียก่อโรคแล้ว ก็ยังมีอีกหลายความเชื่อที่ทำให้คนลังเลที่จะทานโพรไบโอติกเพิ่มขึ้น หรือทานแล้วแต่ยังไม่ได้ประโยชน์สูงสุดเท่าที่ควร คุณเป็นหนึ่งในคนที่ยังคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติกแบบนี้อยู่ไหม มาดูไปพร้อมกันเลยครับ

6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก มีอะไรบ้าง

1. ในโยเกิร์ตทุกตัวมีส่วนผสมของโพรไบโอติกที่มีประสิทธิภาพ

ไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะในขั้นตอนการผลิตโยเกิร์ตโดยทั่วไปนั้น มักจะผ่านการพาสเจอร์ไรส์ด้วยความร้อน ทำให้จำนวนหรือคุณภาพของโพรไบโอติกลดลงไปมากในขั้นตอนนี้ แม้หลายแบรนด์จะพยายามปรับปรุงคุณภาพโดยการเติมโพรไบโอติกเข้าไปจำนวนมากๆ แต่โพรไบโอติกก็ลดจำนวนอย่างรวดเร็วเมื่อวางขายหรืออยู่ในตู้เย็นของเรา และเมื่อคุณรับประทานเข้าไป อย่าลืมว่าสิ่งที่คุณทานต้องผ่านความเป็นกรดตลอดทั้งทางเดินอาหาร โดนย่อยมาตลอดทางจนกระทั่งลงไปถึงลำไส้ นั่นก็แปลว่าโพรไบโอติกในโยเกิร์ตก็ค่อยๆโดนย่อยสลายไปด้วย สุดท้ายอาจเหลือไปถึงลำไส้น้อยมากๆ ไม่เพียงพอที่จะเข้าไปดูแลสุขภาพลำไส้ตามที่เราตั้งใจเลย แต่ในขณะเดียวกันก็อาจได้ของแถมเป็นน้ำตาลจากโยเกิร์ตในปริมาณมากแทน ดังนั้นก่อนจะทานโยเกิร์ตครั้งต่อไปอย่าลืมดูปริมาณน้ำตาลที่ใส่มาด้วยนะครับ

2. โพรไบโอติกดูแลได้แค่ระบบทางเดินอาหารเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้วโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆทั่วร่างกาย และจะทำหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบที่โพรไบโอติกกลุ่มนั้นๆอาศัยอยู่ โพรไบโอติกจะมีอยู่ทั้งในช่องปาก ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่วนที่มีโพรไบโอติกมากที่สุดคือลำไส้ ตามที่คนส่วนใหญ่มักรับรู้ ดังนั้นการทานอาหารเสริมโพรไบโอติกจึงเป็นการดูแลสุขภาพทั่วทั้งร่างกาย ให้ทุกระบบสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ตามปกติและทำงานประสานกับส่วนอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ไม่ควรทานโพรไบโอติกในขณะที่ใช้ยาปฏิชีวนะ

คำพูดนี้ถูกเพียงบางส่วน ยิ่งร่างกายสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเท่าไหร่ คุณยิ่งต้องเติมโพรไบโอติกเข้าไปทดแทน เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศจุลินทรีย์ดีให้กลับมาอยู่ในสมดุลให้เร็วที่สุด เพื่อร่างกายจะได้เกิดการฟื้นฟูเร็วขึ้นด้วย ทั้งนี้อาจจะเริ่มรับประทานเป็นช่วงท้ายๆก่อนยาปฏิชีวนะจะหมดเพื่อความคุ้มค่า เนื่องจากยาปฏิชีวะก็จะฆ่าเชื้อโพรไบโอติกเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณสามารถเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกในร่างกายได้โดยการทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เช่น กิมจิ มิโซะ ชีสบางชนิด นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่สำหรับใครที่ต้องการความสะดวกและต้องการแน่ใจว่าจะได้โพรไบโอติกเพียงพอก็สามารเลือกทานในรูปแบบอาหารเสริมได้ โดยอาจเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณโพรไบโอติกให้มากกว่าที่ทานในช่วงที่ร่างกายเป็นปกติได้

4. เลือกอาหารเสริมที่ใส่โพรไบโอติกปริมาณมากๆ ย่อมดีกว่าเสมอ

ปริมาณโพรไบโอติกมากกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือสายพันธุ์ของโพรไบโอติก ควรเลือกสายพันธุ์ที่สามารถตอบโจทย์เรื่องการดูแลสุขภาพตามที่คุณตั้งใจได้ ต้องมีงานวิจัยรับรองรวมถึงการทดสอบในผู้ใช้จริงว่าได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจและมีความปลอดภัย
ซึ่งปริมาณโพรไบโอติกที่แนะนำสำหรับคนที่ลำไส้ยังสุขภาพดี ระบบทางเดินอาหารทำงานปกติ จะอยู่ที่ 1 พันล้าน CFU (colony-forming units) ขึ้นไป แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เรื้อรัง เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือ มีปัญหาท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง ควรทานในปริมาณที่สูงกว่านี้

5. ต้องเก็บโพรไบโอติกในตู้เย็นเสมอเพื่อรักษาคุณภาพ

ความเชื่อนี้ถูกเพียงบางส่วนครับ แม้โพรไบโอติกนั้นชอบที่เย็น แต่ปัจจัยที่จะรักษาคุณภาพของโพรไบติกไว้ได้ไม่ได้มีแค่เรื่องของการเก็บรักษา แต่รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีการผลิตด้วย ซึ่งกระบวนการผลิตอาหารเสริมในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาไปมาก จนสามารถควบคุมคุณภาพของโพรไบโอติกในทุกขั้นตอนให้คงที่ได้แม้ไม่เก็บรักษาในตู้เย็น รวมถึงการค้นพบสายพันธุ์ที่แข็งแกร่งขึ้น ทั้งทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถอยู่ในทางเดินอาหารและลำไส้ได้นานขึ้น รวมถึงการพัฒนารูปแบบของอาหารเสริมที่ช่วยปกป้องและพาโพรไบโอติก ลงไปได้ลึกถึงลำไส้จริงๆ อย่างเช่น เทคโนโลยีแคปซูลทนกรด ที่ช่วยปกป้องไม่ให้โพรไบโอติกโดนน้ำย่อยในทางเดินอาหารทำลายจนเหลือไปถึงลำไส้ในปริมาณน้อยมาก รวมทั้งช่วยรักษาคุณภาพโพรไบโอติกให้คงที่ พร้อมเริ่มทำงานทันทีเมื่อไปถึงลำไส้ 

6. พรีไบโอติก (Prebiotic) กับ โพรไบโอติก (Probiotic) คือตัวเดียวกัน

จริงๆแล้ว พรีไบโอติกนั้นไม่ใช่ โพรไบโอติกเลยครับ พรีไบโอติก เป็นเพียงอาหารเลี้ยงโพรไบโอติกให้เติบโต ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่ในสมัยก่อนนั้น เรายังไม่มีเทคโนโลยีที่จะเลี้ยงโพรไบโอติกเพื่อขายในเชิงพาณิช ทำให้พรีไบโอติกเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุดและคนทั่วไปกินแทนโพรไบโอติก สำหรับช่วยปรับปรุงระบบการขับถ่าย แต่จริงๆแล้ว ถ้าในลำไส้ของมีปริมาณโพรไบโอติกที่น้อยเกินไป การกินพรีไบโอติก ก็จะไม่ค่อยมีประโยชน์

รู้แบบนี้แล้วก็ทานโพรไบโอติกได้อย่างสบายใจ และสามารถเลือกวิธีการทานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทานอาหารเสริมทุกชนิดเลยก็ว่าได้ ไม่เพียงแค่โพรไบโอติกนะครับ

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติก อ่านเพิ่มเติมในบทความของเราได้เลยครับ

บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
น้ำหนักไม่ยอมลด ทั้งที่คุมอาหาร ออกกำลังกายหนัก เป็นเพราะอะไร การขับถ่ายมีผลไหม?
ออกกำลังกายหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง โพรไบโอติกช่วยซ่อมแซมร่างกายที่พังหลังใช้งานหนักได้อย่างไร
ตั้งรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ (Covid) ด้วยโพรไบโอติก แบคทีเรียดีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากภายในให้แกร่งไม่มีตก
ไม่รู้สึกอยากอาหาร ท้องอืดบ่อย ต้องอ่าน
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น