ผายลมบ่อยระหว่างวัน ตดมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ เกิดจากอะไร

ผายลม-ตดบ่อย -ตดเหม็น-เกิดจากอะไร

การผายลมหรือการตด เรื่องธรรมชาติแต่ทุกคนก็มักอายที่จะพูดถึง เพราะบางครั้งการตดนำมาซึ่งเสียงและกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ทำให้เราอับอายได้ ทั้งที่ใน 1 วันเราจะตดกันมากถึง 14-23 ครั้งกันเลยทีเดียว จึงเรียกได้ว่าการตดเป็นกระบวนการธรรมชาติ ที่เราสามารถใช้สังเกตสภาพร่างกายหรือสัญญาณการเจ็บป่วยจากลักษณะการตดในช่วงเวลานั้นได้

ตดเกิดจากอะไร ทำไมเราจึงต้องตด

ตดเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อระบายแก๊สออกจากร่างกาย โดยแก๊สนี้เกิดได้ตั้งแต่ระหว่างที่เราเคี้ยวอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊ส และโดยเฉพาะการเกิดแก๊สในลำไส้หลังกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งแก๊สเหล่านี้ก็จะถูกส่งต่อจากลำไส้สู่ทวารหนัก และขับออกนอกร่างกาย ซึ่งเวลาที่เราตดส่วนใหญ่จะเป็นช่วงกลางคืนขณะที่เราหลับ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราตดได้มากถึง 20 ครั้ง ต่อวัน

การตดบอกปัญหาสุขภาพได้ยังไง

แม้ว่าการตดเป็นเรื่องปกติและดีต่อสุขภาพ แต่การผายลมมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติกับลำไส้ของคุณ โดยเฉพาะการที่มีแก๊สออกมาพร้อมกับอาการท้องอืดและปวดท้อง นั่นแปลว่าร่างกายของคุณกำลังพยายามจะบอกอะไร

ตดมีกลิ่นเหม็น

โดยทั่วไปแล้วลมที่เราปล่อยออกมาจะมีสารเคมีอยู่หลายชนิด แต่ก็มีเพียงแค่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ที่มีกลิ่นเหม็น และสารเคมีตัวหลักๆที่มีกลิ่นในตดคือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า) ตดเป็นแก๊สที่เชื้อแบคทีเรียบางชนิดในลำไส้ผลิตออกมาระหว่างที่พวกมันทำการย่อยอาหาร ดังนั้นอาหารที่เรารับประทานจึงมีผลต่อกลิ่นตดที่ออกมาด้วย ซึ่งอาหารที่ทำให้มีกลิ่นตดที่เหม็นมากจะเป็นอาหารประเภทโปรตีน เช่น ไข่ นม เนื้อสัตว์ ชีส และถั่วชนิดต่างๆ อีกปัจจัยที่ทำให้ตดมีกลิ่นแรงก็มาจากการที่แก๊สที่ออกมาเป็นลมตดนี้ ได้เดินทางผ่านลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ที่เป็นศูนย์รวมของกากอาหารที่ถูกย่อยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตดจะมีกลิ่นเหม็น

ตดบ่อย

สังเกตได้จากจำนวนครั้งที่เพิ่มขึ้นมามากกว่าปก หรือเกินค่าเฉลี่ยที่ 23 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้อาจไม่ต้องถึงกับคอยนับทั้งวันขนาดนั้น (เพราะตามที่บอกข้างต้นคือ เวลาที่เราตดส่วนใหญ่คือตอนที่เรานอนหลับ) เพียงแค่สังเกตในระหว่างที่เราใช้ชีวิตปกติ การที่เราตดบ่อยขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สมากเกินไป เช่น น้ำอัดลม กะหล่ำปลี เนื้อสัตว์ นม ชีส
อีกสาเหตุของการผายลมบ่อย สามารถเกิดได้จากความผิดปกติในร่างกาย เช่น การทานอาหารเร็วเกินไป การทานอาหารปริมาณมากๆ โดยเฉพาะอาหารที่ย่อยยาก  การแพ้แลคโตสในนมวัวหรือโยเกิร์ต ระบบดูดซึมอาหารผิดปกติ มีอาการอาหารเป็นพิษ หรือที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ โรคมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน (หรือ IBS)

ต้องดูแลตัวเองยังไง เพื่อให้การตดไม่ผิดปกติ

1. การปรับนิสัยหรือพฤติกรรม

  • ไม่ทานอาหารปริมาณมากเกินไป ลดการพูดคุยระหว่างทานอาหาร
  • ไม่ทานเร็วเกินไป เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่นอนทันทีหลังทานอาหาร
  • เลี่ยงการทานอาหารที่เราแพ้ และอาหารทำให้เกิดแก๊สหรือกรด เช่น น้ำอัดลม เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก อาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายหรือพยายามขยับตัวระหว่างวันให้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ตลอดทั้งวัน
  • หากเริ่มมีอาการเจ็บป่วย หรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ควรพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา

2. การดูแลระบบภายในร่างกาย

ระบบทางเดินอาหารที่ระบบเกี่ยวข้องกับการผายลมโดยตรง โดยเฉพาะในส่วนลำไส้ซึ่งเป็นจุดที่มีการย่อย ดูดซึมสารอาหาร และส่งต่อกากอาหารหลังการย่อยไปที่ทวารหนักเพื่อเตรียมกำจัดออก ลำไส้จะทำงานได้ดีเมื่อมีแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ มากกว่าแบคทีเรียก่อโรค ซึ่งเราสามารถรักษาสมดุลโพรไบโอติกในลำไส้ได้ด้วยการทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูงอยู่เสมอ เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ถั่วนัตโตะ ซุปมิโซะ
แต่ในขณะเดียวกัน การทานอาหารข้างต้นให้ได้ทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถมปริมาณโพรไบโอติกที่จะได้ก็อาจไม่มากพอที่จะดูแลลำไส้ เพราะส่วนใหญ่มักโดนกรดในน้ำย่อย ย่อยไปพร้อมอาหารจนเหลือรอดไปถึงลำไส้น้อยมาก การทานโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริมจึงเข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ โดยเฉพาะอาหารเสริมในรูปแบบแคปซูลทนกรด ที่ช่วยปกป้องโพรไบโอติกจากน้ำย่อยในทางเดินอาหาร โพรไบโอติกจึงมีโอกาสรอดสูงและมีจำนวนมากพอที่จะส่งเสริมการทำงานของลำไส้ พร้อมต่อสู้กับแบคทีเรียก่อโรคไม่ให้มารบกวนได้ง่ายๆ

พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็จะเห็นได้ว่าการหมั่นสังเกตตัวเองว่าผายลมบ่อยขึ้นไหมในแต่ละวันไม่ใช่แปลกอีกต่อไป เพราะเป็นการดูแลสุขภาพอีกวิธีหนึ่ง  หากเริ่มมีจำนวนครั้งที่มากและบ่อยขึ้นก็ควรปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมและดูแลระบบภายในโดยด่วน ก่อนกลายเป็นความเจ็บป่วย จนต้องไปพบแพทย์นะครับ


บทความแนะนำ
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ประสิทธิภาพ Tactiva โปรไบโอติก: ผลการวิจัยในเชื้อโปรไบโอติกในแต่ละตัว
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น