วิธีสร้างภูมิคุ้มกันง่ายๆ สำหรับคนวัยทอง ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค ร่างกายไม่เสื่อมตามวัย

เคล็ดลับ-เสริมภูมิคุ้มกัน-วัยทอง-อาหารเสริม-โพรไบโอติก

ทำไมคนวัยทองจึงต้องดูแลตัวเองมากขึ้น ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพมีความน่ากังวลขนาดนั้นเลยหรือ เพราะคนเราไม่อาจปฏิเสธความเสื่อมถอยของร่างกายที่เพิ่มขึ้นตามกาลเวลา เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่สัญญาณความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเริ่มชัดเจน อย่างเช่นคนที่เข้าสู่ช่วงวัยทอง หรือคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป เรียกได้ว่าไม่ควรนิ่งนอนใจที่จะใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพแล้ว เพราะยิ่งร่างกายเสื่อมถอยไว โอกาสเจ็บป่วยก็เกิดขึ้นได้ไวมากขึ้น ไม่เหมือนกับตอนหนุ่มสาวที่ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ดีและเร็วกว่า

เมื่อเข้าสู่วัยทองร่างกายเริ่มเปลี่ยนไปอย่างไร

ด้านร่างกาย

  1. การเผาผลาญจะลดลง น้ำหนักขึ้นง่ายแต่ลดลงยาก ทำให้คนวัยนี้มีโอกาสน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานได้มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  2. ความแข็งแรง ความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่ายหากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ คอลลาเจนและอิลาสตินใต้ชั้นผิวลดลงทำให้ความหนาของผิวหนังลดลง เกิดเป็นริ้วรอย ความหย่อนคล้อยของผิวหนัง 
  3. ฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิดกายเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ทั้งอ่อนเพลียง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ความรู้สึกทางเพศลดลง อาจมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากโดยเฉพาะตอนกลางคืน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในผู้หญิงวัยทองจะชัดเจนกว่า จากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงลดลง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือรังไข่หยุดทำงาน ไม่มีรอบเดือน ผนังช่องคลอดบาง เกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
  4. กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันแย่ลง สืบเนื่องมาจากสมรรถภาพและระบบต่างๆในร่างกายทำงานแย่ลง เช่น ระบบย่อยและการดูดซึมสารอาหารสำคัญทำงานแย่ลงกว่าแต่ก่อน การพักผ่อนไม่เพียงพอจากภาวะนอนหลับยากในวัยทอง

ด้านจิตใจ

คนในวัยทองจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ชัดเจนคือ การมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งเป็นสภาวะต่อเนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้มีความกังวล ขาดความมั่นใจในตัวเอง หงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์ฉุนเฉียว สมาธิลดลง หลงลืม นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับบ่อยขึ้น ซึ่งการพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ตามมาได้อีกมากมาย

คนวัยทองจะดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่เสมอได้อย่างไร

  1. ทานอาหารให้หลากหลาย และมีสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารที่น้ำตาลน้อย ไขมันต่ำ โปรตีนสูง แคลเซียมสูง เน้นทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ซึ่งดีต่อระบบย่อยและการขับถ่าย ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่มีคุณภาพ คือไม่ควรเกินเที่ยงคืน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะระหว่างที่เรานอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเพื่อซ่อมแซมตัวเอง รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน 
  3. รู้จักผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพหลายอย่าง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเวลาที่เราเกิดความเครียด ก็จะส่งผลต่อคุณภาพการนอน ซึ่งถ้าเรานอนไม่พอก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตกลงได้ง่ายๆ
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้เซลล์ต่างๆได้รับออกซิเจนมากขึ้น เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนสำคัญของภูมิคุ้มกันร่างกาย ก็จะแข็งแรงและเพิ่มจำนวนได้มากพอที่จะต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค ไม่ให้ทำอันตรายกับร่างกายเราได้
  5. ทานอาหารเสริมวิตามิน เป็นตัวช่วยเสริมให้มั่นใจขึ้นได้ว่าร่างกายได้รับสารอาหารจำเป็นอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องการทานยาก ทานอาหารได้ไม่หลากหลาย โดยวิตามินตัวสำคัญที่อยากแนะนำ อาทิเช่น วิตามินซีที่ช่วยต้านเชื้อไวรัส วิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ วิตามินดี ช่วยเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน
  6. เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกายให้มีมากกว่าตัวก่อโรค ซึ่งโพรไบโอติกจะพุ่งตรงไปที่ลำไส้ซึ่งเป็นส่วนที่จุลินทรีย์ดีอาศัยอยู่มากที่สุด โดยจะเข้าไปเกาะที่ผนังลำไส้แทนที่แบคทีเรียก่อโรค ทำให้ลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการย่อย ดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย กระตุ้นการขับถ่าย สร้างฮอร์โมนสำคัญ รวมถึงกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองซึ่งอยู่ใต้เยื่อบุลำไส้ให้มีการสร้างสารป้องกันสิ่งแปลกปลอมออกมา
    ด้วยวิถีชีวิตเร่งรีบ อาจมีช่วงที่เราดูแลสุขภาพไม่ดีพอจนร่างกายอ่อนแอ หรือช่วงที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรค สิ่งเหล่านี้เร่งให้โพรไบโอติกยิ่งสลายได้ง่ายขึ้น จนเกิดการเสียสมดุลจุลินทรีย์ดีในระบบทางเดินอาหาร เมื่อแบคทีเรียก่อโรคมีมากกว่าเราก็เกิดความเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราควรเสริมโพรไบโอติกให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นประจำ เพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์ดีให้มีมากกว่าตัวก่อโรคอยู่เสมอ

แต่ถึงตอนนี้จะยังไม่เข้าวัยทอง ก็ควรเริ่มดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ นะครับ เพราะการปรับให้มีพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพสำหรับบางคนอาจต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราปรับได้แล้ว และมีสุขภาพดีตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว แม้เข้าวัยทองปัญหาสุขภาพก็น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็นได้ด้วยครับ

บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ท้องผูกแก้ไม่หาย ทั้งที่กินผักเยอะ เกิดจากอะไร
อาการไม่ดีทุกครั้งหลังทานของโปรดหรือเราอยู่ในโหมดภูมิแพ้อาหารแฝง
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น