ยิ่งเครียดยิ่งกินเกิดจากอะไร ส่งผลถึงโพรไบโอติกในลำไส้ได้อย่างไรบ้าง

เครียดแล้วกินเยอะ เกิดจากอะไร

บ่อยครั้งที่การกินกลายเป็นกิจกรรมระบายความเครียดของเราไปโดยไม่รู้ตัว บ้างก็อ้างว่าเป็นการให้รางวัลตัวเองหลังทำงานหนัก บ้างก็ใช้เบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่เครียดอยู่ สิ่งที่ตามมาที่สังเกตได้เป็นอย่างแรกคือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาอีกได้มากมาย จากการมีน้ำหนักที่เพิ่มและการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซ้ำๆเป็นเวลานาน และอีกส่วนในร่างกายที่ได้รับผลกระทบซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองข้าม นั่นก็คือแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้ค่อยๆ ถูกทำลาย ไปพร้อมๆกับสุขภาพลำไส้ที่ถดถอยลงเรื่อยๆตามกันไปด้วย

ความเครียดทำให้เราอยากกินอาหารมากขึ้นได้อย่างไร

พฤติกรรมการกินเพื่อระบายความเครียด เกิดจากการที่เรามีความเครียดสะสม ทำให้ร่างกายคิดว่าเรากำลังต้องการพลังงานจำนวนมากไปต่อสู้กับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด จึงหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) กระตุ้นให้เราเกิดความอยากอาหารที่มีแคลอรี่สูง โดยเฉพาะของมัน ของทอด ของหวาน อาหารรสเค็ม สังเกตง่ายๆหลังจากที่เราประชุม อ่านหนังสือสอบหนักๆ หรือเพิ่งเจอเหตุการณ์ที่เคร่งเครียดมาเรามักจะอยากทานขนมหวาน อาหารจังก์ฟู้ด มากเป็นพิเศษ ยิ่งเราปล่อยให้ความเครียดสะสมนานๆ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลก็จะยังคงสูงต่อเนื่อง เป็นอุปสรรคต่อการลดน้ำหนักเพราะเราไม่สามารถห้ามความอยากอาหารเหล่านี้ได้

แบบไหนเรียกว่าเป็นความหิวเพราะเครียดสะสม มีวิธีสังเกตอย่างไร

  • ความรู้สึกหิวจากการเครียดสะสม จะต่างกับเวลาที่เราหิวตามปกติอย่างสิ้นเชิง โดยปกติเราจะรู้สึกหิวมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นความหิวจากความเครียดมักจะเกิดขึ้นแบบรวดเร็วอยู่ดีๆ ก็รู้สึกหิวมาก
  • อยากทานของทอด อาหารมันๆ หวานๆ หรือรสเค็ม มากเป็นพิเศษ 
  • สามารถทานอาหารปริมาณมากหมดได้ในเวลาสั้นๆ ทานได้เรื่อยๆ แบบรู้ตัวอีกทีก็ทานหมดแล้ว เช่น ทานไอศครีมถ้วยใหญ่ หรือมันฝรั่งทอดถุงใหญ่หมดคนเดียวอย่างรวดเร็ว
  • ถึงจะอิ่มแล้วแต่ก็ทานต่อได้ อยากทานเรื่อยๆจนกว่าจะรู้สึกแน่นท้อง ต่างจากเวลาที่เราหิวตามปกติที่เมื่อรู้สึกอิ่มแล้วเราจะหยุดทานได้ ไม่รู้สึกว่าต้องทานต่อ
  • รู้สึกผิดหลังทานอาหารไปมากๆ โดยเฉพาะหลังทานอาหารแคลอรี่สูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้ง่าย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการทานได้

การกินระบายความเครียด ส่งผลต่อโพรไบโอติกในลำไส้อย่างไร

การทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันสูง และรสเค็มจัด ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความความหลากหลายของโพรไบโอติก (Probiotic) หรือแบคทีเรียดีที่ค่อยดูแลลำไส้ลดลงได้เนื่องจาก

  • ทำให้ลำไส้อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก ทั้งการมีค่า PH สูง กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งทำให้โพรไบโอติกเจริญเติบโตได้ยาก
  • อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงมักจะมีไฟเบอร์ซึ่งเป็นอาหารของโพรไบโอติกอยู่น้อยมาก เมื่อมีอาหารไม่พอโพรไบโอติกก็เติบโตได้น้อยลง
  • ขณะเดียวกันอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง กลับส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคซึ่งเป็นศัตรูของโพรไบโอติก เมื่อแบคทีเรียร้ายมีมากกว่าก็ยิ่งโจมตีแบคทีเรียดี รวมถึงลำไส้และอวัยวะอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

ปรับพฤติกรรมใหม่ ดูแลลำไส้ รักษาสมดุลโพรไบโอติก

  1. หาวิธีอื่นรับมือกับความเครียดแทนการกินอาหาร เช่น หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบเพื่อลดความเครียด
  2. ไม่ทำกิจกรรมอื่นขณะกินอาหาร เช่น ดูทีวี ขับรถ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วย เพื่อไม่ให้ลืมตัวเผลอกินมากเกินไป
  3. พยายามกินให้ช้าลง เคี้ยวช้าๆ และนานขึ้น เพื่อให้อาหารละเอียด ย่อยง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มการรับรู้รสชาติอาหาร ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ช่วยลดพฤติกรรมการกินมากเกินไปได้
  4. ถ้ารู้สึกหิวอยากกินจุกจิก แทนที่จะกินขนมกรุบกรอบ ลองเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า และมีสารที่ช่วยลดความเครียดได้ เช่น ถั่วหรือธัญพืช ผลไม้น้ำตาลน้อย ดาร์กช็อกโกแล็ต ชาสมุนไพร
  5. ทานอาหารที่มีโพรไบโอติก (Probiotic) หรืออาหารเสริมโพรไบโอติก เพื่อรักษาสมดุลแบคทีเรียดีในลำไส้อยู่เสมอ โพรไบโอติกจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้สามารถทำหน้าที่ได้ดี ทั้งย่อย ดูดซึมสารอาหารสำคัญไปเลี้ยงร่างกาย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และลำไส้ยังเป็นจุดที่สร้างฮอร์โมนสำคัญอย่างเซโรโทนิน หรือสารแห่งความสุข ที่ช่วยให้เรามีอารมณ์แจ่มใส สมองปลอดโปร่ง และนอนหลับได้ดี ดังนั้นการมีลำไส้สุขภาพดีจึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของพฤติกรรมการกินมากเกินไปได้
บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
อาการไม่ดีทุกครั้งหลังทานของโปรดหรือเราอยู่ในโหมดภูมิแพ้อาหารแฝง
ตั้งรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ (Covid) ด้วยโพรไบโอติก แบคทีเรียดีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากภายในให้แกร่งไม่มีตก
แปรงฟันบ่อย เเล้วทำไมยังมีกลิ่นปาก!?? ไปหาคำตอบจากเรื่องนี้กันครับ
โพรไบโอติกที่บรรจุในแคปซูลทนกรด (Acid resistant capsule) ดีกว่าอย่างไร
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น