ลำไส้คนเอเชียต่างจากลำไส้ชาวตะวันตกอย่างไร ทำไมคนเอเชียกินเผ็ดเก่งกว่า

ลำไส้คนเอเชีย ลำไส้ฝรั่ง คนต่างชาติ ต่างกันยังไง

เคยสังเกตไหม ทำไมเวลาคนต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทยแล้วจะค่อนข้างระวังเรื่องอาหารการกินมาก เพราะถ้าทานอะไรที่แสลงอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ง่ายๆ ที่มักเป็นบ่อยที่สุดคือ อาการท้องเสีย บางรายเป็นหนักถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว ขณะเดียวกันถ้าเราเองไปเที่ยวต่างประเทศและกินอาหารที่ไม่คุ้นเคยก็จะมีปัญหาในละลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

ลำไส้ของคนเอเชียต่างกับลำไส้ของคนต่างชาติอย่างไร

เพราะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ของแต่ละภูมิภาคบนโลก ส่งผลต่อวิถีชิวิตคนในประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะอาหารที่รับประทาน แน่นอนว่าคนแต่ละพื้นที่มักเลือกกินอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นตัวเอง และต้องเป็นอาหารที่เหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิต

คนตะวันตกที่อยู่ในประเทศที่อากาศหนาวเย็น มักทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล แป้งสูง เพื่อนำไปเผาผลาญให้ได้พลังงานสูงและสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย ในขณะที่คนเอเชียซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่อบอุ่นกว่า อาหารที่กินจะค่อนข้างต่างกับชาวตะวันตก โดยคนเอเชียมักจะกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ใหญ่ แป้ง และไขมันน้อยกว่า แต่กินผัก อาหารที่มีกากใยมากกว่า

ดังนั้นระบบย่อยและขับถ่ายของคนจาก 2 ภูมิภาคนี้จึงไม่เหมือนกัน เพราะร่างกายเกิดการปรับตัวให้เข้ากับอาหารที่รับประทาน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมการทำงานของลำไส้ซึ่งทำหน้าที่ย่อยและขับถ่าย ของคนแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน และความสามารถในการกินอาหารบางอย่างก็ไม่เหมือนกันด้วย อย่างที่เราเห็นคือคนเอเชียจะกินเผ็ดได้เก่งกว่า เพราะระบบย่อยคุ้นชินกับอาหารประเภทนี้มานาน ในขณะเดียวกันคนเอเชียก็มักจะย่อยแลคโตสในนมวัวได้ไม่ดีเท่าคนตะวันตกที่คุ้นชินกับอาหารประเภทนี้มากกว่าเช่นกัน

เรื่องลำไส้ที่แตกต่างกันของคนจาก 2 พื้นที่ ที่เราพูดถึงนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การตั้งสมมติฐาน เพราะได้มีงานวิจัยออกมาสนับสนุนเมื่อเร็วๆนี้ โดยในงานวิจัยได้พูดถึงการมี ไมโครไบโอม หรือ ชีวนิเวศจุลชีพ ในลำไส้ที่แตกต่างของคนแต่ละพื้นที่ 

ไมโครไบโอม หรือ ชีวนิเวศจุลชีพ คืออะไร

คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยรวมกัน กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆในร่างกาย ไมโครโอมจะประกอบด้วยจุลินทรีย์หลายชนิด ทั้งแบคทีเรีย รา ไวรัส ในส่วนของลำไส้ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีจุลินทรีย์มากและหลากหลายสายพันธุ์ที่สุด ไมโครไบโอมจะช่วยย่อยอาหารบางอย่างที่กระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยได้ ส่งเสริมการสังเคราะห์วิตามิน การผลิตฮอร์โมนสำคัญ และช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

จุลินทรีย์ในลำไส้เปลี่ยนไปเพราะอาหารที่รับประทานจริงเหรอ

ในงานวิจัยเกี่ยวกับไมโครโอม ได้พูดถึงกลุ่มตัวอย่างชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อพยพไปอยู่อเมริกา ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ความหลากหลายของจุลินทรีย์ของคนกลุ่มนี้ลดลง เพราะจากที่เคยทานเนื้อสัตว์น้อย เน้นทานข้าวและผักที่ปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ แล้วเปลี่ยนมาทานเนื้อสัตว์ อาหารแปรรูปมากขึ้น รวมทั้งอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ทำให้ไมโครโอมในลำไส้เปลี่ยนไป จุลินทรีย์เกิดการเสียสมดุล โดยเฉพาะจุลินทรีย์ดีอย่างโพรไบโอติกลดลง ขณะที่แบคทีเรียร้ายเจริญได้ดีขึ้น ผลที่ตามก็คือร่างกายเริ่มส่งสัญญาณการมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะการมีภาวะอ้วน จากเดิมที่มีประชากรจากกลุ่มตัวอย่างนี้ มีภาวะอ้วนเพียง 5% ก็เพิ่มเป็น 30% อย่างรวดเร็ว ที่เป็นแบบนี้เพราะอาหารที่เรากินจะกลายไปเป็นอาหารของจุลินทรีย์อีกที ดังนั้นถ้าอาหารที่กินเปลี่ยนไปก็เท่ากับว่าจุลินทรีย์เดิมที่อยู่ในลำไส้ก็ได้รับอาหารน้อยลง หรือแม้แต่การทานอาหารไม่หลากหลายก็ทำให้ความหลากหลายของจุลินทรีย์ลดลงได้ด้วยเช่นกัน

จะเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีในลำไส้ได้อย่างไร ถ้าปรับการใช้ชีวิตได้ยาก

ยิ่งปล่อยให้ลำไส้เสียสมดุลจุลินทรีย์ดีนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการเจ็บป่วยมากขึ้น เพราะลำไส้เต็มไปด้วยแบคทีเรียก่อโรคที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เริ่มตั้งแต่การย่อย การขับถ่าย น้ำหนักเกินมาตรฐาน สภาวะทางอารมณ์ นอนหลับยาก ไปจนถึงเสี่ยงเป็นมะเร็งง่ายขึ้น ซึ่งการจะปรับสมดุลระบบนิเวศจุลินทรีย์ สามารถทำได้ดังนี้

  1. ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต โดยเฉพาะคนที่ต้องย้ายไปต่างเมืองหรือต่างประเทศ โดยพยายามปรับให้มีความใกล้เคียงกับวิถีชีวิตเดิมบ้าง เช่น เคลื่อนไหวให้มากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ เพิ่มสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพ และกินอาหารให้หลากหลายขึ้น
  2. เพิ่มจุลินทรีย์ดีในระบบนิเวศ ด้วยอาหารเสริมโพรไบโอติก เป็นอีกตัวช่วยที่เพิ่มความสะดวก โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาเตรียมอาหารหรือไม่แน่ใจว่าทานอาหารได้หลากหลายพอหรือไม่ ซึ่งการเลือกกินอาหารเสริมโพรไบโอติกให้ได้ประโยชน์สูงสุด สามารถทำได้ดังนี้
  • เลือกสายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรา ช่วยดูแลระบบย่อยและระบบขับถ่ายได้จริง และต้องเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับลำไส้ของคนไทย 
  • รูปแบบของอาหารเสริมก็สำคัญ ควรเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติกในรูปแบบแคปซูลทนกรด เพื่อให้โพรไบโอติกไม่ถูกทำลายจากความเป็นกรดในทางเดินอาหาร ถูกลำเลียงลงไปได้ลึกถึงลำไส้และพร้อมทำงานทันที
  • ต้องมีปริมาณโพรไบโอติกเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 1,000 ล้าน CFU ใน 1 แคปซูล

ต่อไปนี้ถ้าไม่อยากให้ลำไส้มีปัญหา ก็ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้นอีกนิด โดยเฉพาะเมื่อต้องทานอาหารที่ไม่คุ้นเคยในต่างแดน ไม่ใช่ว่าไม่ทานอะไรเลยนะครับ แค่เลือกทานแบบพอดี อะไรที่เรารู้ว่าอาจเสี่ยงทำให้เราไม่สบายก็ควรเลี่ยง แต่ทางที่ดีที่สุดคือการดูแลสมดุลจุลินทรีย์ดีหรือโพรไบโอติกในลำไส้ให้ดีอยู่เสมอ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่เราทานเข้าไปจะเป็นของแสลงกับร่างกายของเราหรือไม่นะครับ

บทความแนะนำ
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ซ่อมร่างที่พัง-หลังออกกำลังกายหนัก-ด้วย โพรไบโอติก-Tactiva
ออกกำลังกายหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง โพรไบโอติกช่วยซ่อมแซมร่างกายที่พังหลังใช้งานหนักได้อย่างไร
โพรไบโอติก-probiotic-ควรเก็บในตู้เย็น-หรือไม่
โพรไบโอติกควรเก็บในตู้เย็นจริงหรือ เราจะมีวิธีเลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ทนทานได้อย่างไร
ปัญหาทางเดินอาหาร-ผู้สูงอายุ-กระเพาะ-ลำไส้-โพรไบโอติก
อย่าปล่อยให้เสื่อมจนทรุด ปัญหาระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุที่ต้องรีบดูแล
1-1 แจกเมนูชาวออฟฟิศ-สารอาหาร-วัยทำงาน-โพรไบโอติก
แจกเมนูชาวออฟฟิศ รวม 5 สารอาหารที่วัยทำงานต้องการ
บทความอื่นๆ
โพรไบโอติก-เหมาะกับใคร-หยุดกิน-เป็นไรไมห-ผลข้างเคียง
โพรไบโอติกต้องกินนานแค่ไหน หยุดกินจะเป็นอะไรไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่
99 ปี-ทานโพรไบโอติก-แก้ท้องผูก-ได้ผล
ผู้สูงอายุทานโพรไบโอติกแก้ท้องผูกได้ไหม? มาดูประสบการณ์ดูแลลำไส้ของลูกค้าวัย 99 ปี ที่ทาน Tactiva เป็นประจำ 
เสียสมดุลแบคทีเรียดี-โพรไบโอติก-ตกขาว-คัน-ช่องคลอด
อาการคัน ตกขาว ที่ช่องคลอด อาจเกิดจากการเสียสมดุลแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก
ไมเกรน-ลำไส้อ่อนแอ-โพรไบโอติก
ปวดหัวไมเกรน เกิดจากลำไส้อ่อนแอ แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุลจริงหรือ

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น