กลั้นอุจจาระบ่อยมีผลเสียอย่างไร เสี่ยงมะเร็งลำไส้จริงหรือ

กลั้นอุจจาระ-เสี่ยงมะเร็งลำไส้-ป้องกัน-โพรไบโอติก

กลั้นอุจจาระถือเป็นปัญหาสำหรับคนเมืองส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะในทุกเช้าต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งมักจะอยู่ไกลจากที่พักและยังต้องเจอกับปัญหารถติด ทำให้ต้องใช้เวลาร่วมชั่วโมงในการเดินทาง โดยในช่วงเวลานี้เองก็ตรงกับช่วงที่นาฬิกาชีวิตของเรามีการกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงาน เมื่อเราต้องติดอยู่บนรถยนต์ส่วนตัวหรือแม้แต่บนรถโดยสารสาธารณะก็ยากที่จะทำธุระส่วนตัวได้ จึงต้องทนกลั้นอุจจาระเอาไว้ กว่าจะไปถึงที่หมายก็หายปวดและอาจไม่รู้สึกอยากขับถ่ายไปทั้งวันหรือข้ามไปอีกวันเลย การที่เราฝืนธรรมชาติของระบบร่างกายบ่อยๆ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวแน่นอน สำหรับการกลั้นอุจจาระบ่อยก็จะส่งผลต่อระบบขับถ่ายและสามารถลุกลามไปถึงระบบอื่นๆที่เชื่อมโยงกันได้

กลั้นอุจจาระบ่อยส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

1. ระบบขับถ่ายแปรปรวน เพราะพอถึงเวลาอยากถ่ายเรากลับกลั้นอุจจาระเอาไว้ ถ้าทำบ่อยๆ ระบบขับถ่ายอาจรวน เพราะร่างกายเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อไรที่ถึงเวลาต้องถ่าย เราจะไม่อยากถ่ายนะไม่ต้องกระตุ้นให้ปวด สุดท้ายเราจึงกลายเป็นคนขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือถ่ายยากขึ้น

2. ท้องผูก เพราะเราไม่ยอมถ่ายแล้วอุจจาระยิ่งสะสมในลำไส้มากขึ้น น้ำในอุจจาระก็ค่อยๆถูกร่างกายดูดไปเรื่อยๆ ทำให้อุจจาระแข็งและขับถ่ายยากกว่าเดิม ใครที่ชอบกลั้นอุจจาระบ่อยๆ อุจจาระก็จะยิ่งเข้าไปสะสม อัดแน่นที่ปลายลำไส้ เกิดเป็นภาวะอุจจาระอุดตันที่นำไปสู่การเกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง

3. ร่างกายสะสมสารพิษ เป็นสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากการที่ร่างกายดูดน้ำจากอุจจาระกลับไปใช้ ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงพอจะเดาออกว่าน้ำที่ร่างกายดูดไปอุดมไปด้วยเชื้อโรคและสารพิษทั้งนั้น ยิ่งปล่อยให้ท้องผูกนานๆ ร่างกายก็ยิ่งเกิดการสะสมของเสียเหล่านี้

4. เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เพราะสารพิษและเชื้อโรคที่ถูกดูดกลับมาพร้อมน้ำจากอุจจาระก็กลับมาทำร้ายร่างกายของเราด้วย เริ่มจากรู้สึกเฉื่อยชาเพราะไม่สบายท้องจากการที่ร่างกายไม่ยอมขับถ่าย และจะเริ่มรู้สึกแย่ลงเรื่อยๆ ไม่สดชื่น สมองตื้อ รู้สึกคลื่นไส้ และอ่อนเพลียตามมา

5. เกิดริดสีดวงทวาร จากการที่ร่างกายต้องระบายอุจจาระที่แข็งออกบ่อยๆ ทำให้เนื้อด้านในทวารหนักเกิดบาดแผลหรือปลิ้นออกมาด้านนอก บางรายอาจมีเลือดปนออกมาตอนขับถ่ายอุจจาระด้วย

6. ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ถือเป็นขั้นสุดท้ายของอาการทั้งหมดที่กล่าวมา เมื่อมีพิษและเชื้อโรคสะสมในลำไส้ต่อเนื่องกันนานๆ ก็จะเกิดการอักเสบและติดเชื้อบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้นั่นเอง

ไม่อยากกลั้นบ่อย เพราะไม่อยากเสี่ยงก็ต้องจัดระบบชีวิตกันสักหน่อย เริ่มจากการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา ซึ่งนอกจากเรื่องการจัดตารางเวลาในการทำกิจวัตรตอนเช้าให้ลงตัวแล้วอาหารก็มีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ควรทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการขับถ่าย เช่น อาหารที่ย่อยง่าย มีกากใยสูง รวมถึงอาหารที่มีโพรไบโอติก (Probiotic) จุลินทรีย์ชนิดดีที่เข้ามาขัดขวางการทำงานของแบคทีเรียก่อโรค ทำให้ลำไส้สะอาด ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความแนะนำ
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร อาการเป็นอย่างไร การทานโพรไบโอติกช่วยป้องกันลำไส้ขี้เกียจได้หรือไม่
โพรไบโอติก สารอาหารสารพัดประโยชน์ แก้ขับถ่ายยาก ดูแลสุขภาพลำไส้ ไปจนถึงบำรุงกระดูก
ปวดหัวไมเกรน เกิดจากลำไส้อ่อนแอ แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุลจริงหรือ
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น