ออกกำลังกายหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง โพรไบโอติกช่วยซ่อมแซมร่างกายที่พังหลังใช้งานหนักได้อย่างไร

ซ่อมร่างที่พัง-หลังออกกำลังกายหนัก-ด้วย โพรไบโอติก-Tactiva

พูดถึงการออกกำลังกายก็มักจะนึกถึงข้อดีเต็มไปหมด ทั้งช่วยส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งทางกายและจิตใจ ในหลายๆบทความเราพูดถึงข้อดีกันมามากแล้ว วันนี้เราขอเล่าถึงข้อเสียของการออกกำลังกายกันบ้าง ซึ่งในที่นี้เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม ว่าสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างไร รวมถึงทางเลือกใหม่ในการดูแลสุขภาพอย่างโพรไบโอติก (Probiotic) สามารถช่วยซ่อมแซมร่างกายได้อย่างไรบ้าง

ผลเสียของการออกกำลังกายหนักเกินไปมีอะไรบ้าง

  1. รู้สึกปวดเมื่อยตามตัวตลอดเวลา อาจปวดทั้งตัวหรือปวดบางจุดสำหรับคนที่ออกกำลังกายซ้ำในจุดเดิมมากเกินไป ความเจ็บปวดเกิดจากการที่ร่างกายบาดเจ็บเพราะถูกใช้งานหนัก จนกล้ามเนื้ออักเสบ หรือบางคนแย่กว่านั้นคือเกิดการอักเสบที่เอ็นหรือข้อต่อด้วย 
  2. รู้สึกเพลีย อ่อนล้าตลอดเวลาหลังใช้ร่างกายหนัก หรือบางคนได้รับผลกระทบไปถึงวงจรการนอน มีอาการนอนไม่หลับ เพราะร่างกายมีความตื่นตัวจากการออกกำลังกาย
  3. ความอยากอาหารลดลง ในคนที่ออกกำลังกายหนักจะมีการสร้างฮอร์โมนและอะดรีนาลีนที่หยุดความหิวออกมาทำให้ทานได้น้อยลง ตรงนี้อาจส่งผลดีกับคนที่ต้องการคุมน้ำหนัก แต่ในขณะเดียวกันการที่เราทานน้อยอาจทำให้เราได้สารอาหารไม่เพียงพอที่จะนำไปซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ โดยเฉพาะในคนที่ออกกำลังกายหนักที่ร่างกายทรุดโทรมมากกว่าคนทั่วไป
  4. กล้ามเนื้อหัวใจล้า ไม่เพียงแค่อวัยวะที่เราใช้ออกกำลังกายโดยตรงจะทำงานหนัก ในส่วนของหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน จนเกิดภาวะอ่อนแรงและอาจเกิดการบาดเจ็บ นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มหลวได้
  5. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เพราะการออกกำลังกายหนักเป็นการกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิดความอักเสบในร่างกายมากขึ้น นอกจากทำให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้าแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันเราก็อ่อนแอลง จึงเกิดการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งก็เคยมีงานวิจัยออกมาสนับสนุนในเรื่องนี้ว่า นักกีฬาอาชีพที่ใช้ร่างกายหนักเป็นประจำ มักเจ็บป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ มากกว่ากลุ่มคนทั่วไปที่ออกกำลังกายอย่างพอดี 

ออกกำลังกายแค่ไหนกำลังพอดี

ก่อนอื่นอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจสภาพร่างกายของตัวเองก่อน เพราะพื้นฐานร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งอายุ น้ำหนัก รูปร่าง การมีโรคประจำตัว แต่ไม่ว่าจะสภาพร่างกายแบบไหนก็ไม่ควรทำอะไรที่ฝืนธรรมชาติ เกินกว่าร่างกายจะรับไหว ซึ่งหลักการจัดตารางออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกประเภทกีฬาที่เหมาะกับสภาพร่างกายเรา โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัวที่ควรเลือกชนิดของกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ต้องไม่กระทบกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ ส่วนคนที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงก็จะได้เปรียบที่เลือกออกกำลังกายได้หลากหลายกว่า แต่ทั้งนี้การออกกำลังกายก็ควรค่อยๆเริ่มจากเบา แล้วค่อยๆเพิ่มความเข้มข้น เพื่อให้ร่างกายปรับตัวและเกิดความเคยชิน
  • ระยะเวลาการออกกำลังกายควรอยู่ที่ 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับประเภทกีฬาที่เราเล่น และจุดประสงค์ในการออกกำลังกายด้วย หากเป็นการคาดิโอควรอยู่ที่ 150 นาที ต่อสัปดาห์ โดยอาจแบ่งเป็น 5 วัน วันละ 30 นาที แต่ถ้าเป็นการเล่นกีฬารูปแบบอื่นที่หนักมากๆ ควรอยู่ที่ 3 วัน ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาฟื้นฟูจากความบาดเจ็บ
  • ควรมีวันพักร่างกายด้วย โดยเฉพาะช่วงที่เรารู้สึกว่าร่างกายล้ามากๆ ไม่ควรฝืนออกกำลังกาย หรือในช่วงที่งานเยอะ มีความเครียดสูง ก็ควรลดระยะเวลาและความเข้มข้นของการออกกำลังกายลง

ทางลัดกระตุ้นการฟื้นฟู เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยโพรไบโอติก (Probiotic)

อย่างที่เรากล่าวไปแล้วว่าการออกกำลังกายอย่างหนักทำให้ร่างกายเกิดความเครียดขึ้น เพราะการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นหรือการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกล้า หมดแรง เหมือนจะป่วยหลังออกกำลังกายมาอย่างหนัก 

จากผลการวิจัยโพรไบโอติก (Probiotic) สายพันธุ์ SYNBIO ที่มีในอาหารเสริม Tactiva พบว่าโพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ สามารถออกฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระที่รุนแรงได้ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำ หรือนักกีฬามืออาชีพ เพราะช่วยบรรเทาความรู้สึกล้าหรือไม่สบายตัวลงได้จริง หลังทานโพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ 

นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณหลักที่โดดเด่นในเรื่องของการดูแลทางเดินอาหารและช่วยลดการเป็นหวัดได้จริง ซึ่งก็มีงานวิจัยสนับสนุนเรื่องนี้เช่นกัน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ร่วมทดลอง SYNBIO  มีจำนวนเซลล์แลคโตบาซิลลัสหรือจุลินทรีย์ชนิดดีที่เราคุ้นเคย อยู่ในอุจจาระเพิ่มขึ้นหลังได้รับโพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ โดยความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่

  • ส่งเสริมการทำงานภายในลำไส้ให้เป็นปกติ
  • ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
  • ขับถ่ายง่ายและความสม่ำเสมอ
  • ลดอาการท้องเสียหรือท้องผูกง่าย 
  • ลดอาการท้องอืด มีแก๊สในทางเดินอาหาร

โดยสรุปคือไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม การยึดทางสายกลาง ไม่ฝืนธรรมชาติเกินไปย่อมดีกว่าการทำแบบสุดโต่ง ถ้าอยากได้ประโยชน์จากการออกกำลังกาย ก็ต้องทำแบบพอดีกับที่ร่างกายรับไหว โดยมุ่งเน้นให้การออกกำลังกายเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภายในร่างกาย ควบคู่กับการดูแลเรื่องการพักผ่อนอย่างเพียงพอและการทานอาหารที่มีประโยชน์ รับรองว่าให้ผลดีกับสุขภาพในระยะยาวได้แน่นอนครับ

บทความแนะนำ
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
แจกเมนูอาหารตามช่วงเวลา-ลำไส้ดี-เพิ่มโพรไบโอติก
แจกเมนูอาหารสุขภาพดี กินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย ลำไส้ไม่พัง
โพรไบโอติก แคปซูล ทนกรด ไม่ละลาย
โพรไบโอติกที่บรรจุในแคปซูลทนกรด (Acid resistant capsule) ดีกว่าอย่างไร
แบคทีเรีย-ในลำไส้-คือสาเหตุ-ทำให้นอนไม่หลับ
เมื่อแบคทีเรียในลำไส้ส่งผลต่อการนอน นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เพราะโพรไบโอติกในลำไส้เสียสมดุลจริงหรือ
ลำไส้ขี้เกียจ-โพรไบโอติก probiotic 1
ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร อาการเป็นอย่างไร การทานโพรไบโอติกช่วยป้องกันลำไส้ขี้เกียจได้หรือไม่
บทความอื่นๆ
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยงาน โพรไบโอติก probiotic
รู้สึกอ่อนเพลียง่าย? สาเหตุอาจจะไม่ได้มาจากการนอนหลับเสมอไป
กินโพรไบโอติก-ได้ผล-ดูจากอะไร
จะรู้ได้อย่างไรว่าทานโพรไบโอติกแล้วได้ผล มีวิธีสังเกตอย่างไร
กินเหล้าเยอะ ผลเสีย สุขภาพ
กินเหล้าเยอะ ไม่ใช่แค่ทำให้ตับแข็ง แต่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น