อย่าปล่อยให้เสื่อมจนทรุด ปัญหาระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุที่ต้องรีบดูแล

ปัญหาทางเดินอาหาร-ผู้สูงอายุ-กระเพาะ-ลำไส้-โพรไบโอติก

ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่ก็มักเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงกับกลุ่มผู้สูงวัย เพราะการทำงานของอวัยวะและระบบร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งระบบทางเดินอาหารจะช้าลงเมื่อเราอายุมากขึ้น นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยภายในระบบทางเดินอาหาร และการเกิดโรคร่วมต่างๆ ซึ่งปัญหาในระบบทางเดินอาหารที่ผู้สูงอายุมักเจอ ก็มีดังต่อไปนี้

ปัญหาในระบบทางเดินอาหารที่ผู้สูงอายุต้องเจอ

1. การเคี้ยวอาหารทำได้แย่ลง เพราะมีปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ ต่อมน้ำลายและต่อมที่ผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารทำงานน้อยลง อาหารที่ถูกกลืนลงไปจึงย่อยได้ลำบากขึ้น

2. ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อวัยวะต่างๆจะทำงานช้าลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงกล้ามเนื้อในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะส่วนกระเพาะอาหารและลำไส้นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ เคี้ยวอาหารได้ไม่ดี เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเรื่องการย่อยอาหารมากกว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาตรงนี้น้อยกว่า เพราะพฤติกรรมเหล่านี้มีส่วนในการช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารด้วย

3. การผลิตน้ำย่อยและเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารน้อยลง โดยผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีการหลั่งเอนไซม์สำคัญลดลง โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ และเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะขาดสารอาหารได้

4. ปวดท้อง ไม่สบายท้อง ที่มักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด จุกเสียด แสบร้อนในท้อง ซึ่งสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่ช้าลง จนทำให้การทำงานของระบบย่อยและระบบขับถ่ายประสิทธิภาพแย่ลง เกิดการสะสมของแก๊สและของเสียในร่างกาย และกลายเป็นอาการเจ็บป่วยตามมา

5. ขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสียหรือท้องผูกง่าย ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากการย่อยที่ไม่สมบูรณ์จากปัจจัยข้างต้น ประกอบกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ช้าลงตามความเสื่อมของร่างกาย รวมถึงการขาดสมดุลจุลินทรีย์ที่คอยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เลยยิ่งทำให้ลำไส้ทำงานได้แย่ลงไปอีก
เมื่ออายุมากขึ้นความหลากหลายของจุลินทรีย์จะลดลงเรื่อยๆอยู่แล้ว ถ้าเราไม่ทำอะไร ปล่อยทิ้งไว้จนเชื้อก่อโรคมีมากกว่าจุลินทรีย์ดี ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายจนเกิดอาการท้องเสีย หรืออาการท้องผูกเพราะลำไส้บีบตัวได้แย่ลงจากการถูกเชื้อโรครบกวน หากปล่อยจนมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง อาการป่วยอาจลุกลามจนเกิดเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ได้

วิธีดูแลทางเดินอาหารให้สุขภาพดีอยู่เสมอ

  • ทานอาหารที่ย่อยง่าย ปรุงสุก และรสไม่จัด เพราะอวัยวะในทางเดินอาหารทำงานได้น้อยลง การทานอาหารจึงมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ระบบย่อยทำงานง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการออกกำลังกายเบาๆ แต่ทำทุกวัน เพื่อช่วยกระตุ้นให้ทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงน้ำอัดลมที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้
  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยเพิ่มกากใยทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ควรเป็นผักที่ผ่านการทำให้สุกแล้ว มีความอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ซึ่งจะทำให้ถูกย่อยง่ายขึ้นด้วย
  • ทานอาหาร หรืออาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก (Probiotic) เพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ให้มีแบคทีเรียดีมากกว่าตัวก่อโรคอยู่เสมอ เมื่อลำไส้สะอาดก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสามารถสร้างน้ำย่อยและเอนไซม์สำคัญออกมาย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี ที่สำคัญคือมีการเคลื่อนไหว บีบตัวได้ดี ทั้งในขั้นตอนการย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ลดไวจนน่าใจหาย เมื่อความหลากหลายของแบคทีเรียดีในลำไส้ ยิ่งลดลงตามอายุที่มากขึ้น
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันง่ายๆ สำหรับคนวัยทอง ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค ร่างกายไม่เสื่อมตามวัย
โพรไบโอติก มีผลข้างเคียงไหม ทานแบบไหนไม่อันตราย
เชื่อหรือไม่ ถ้าลำไส้ดี สุขภาพจิตก็ดีตาม ภาวะซึมเศร้ากับสมดุลในลำไส้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น