เรื่องน่าทึ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้ ลำไส้ทำหน้าที่อะไร ทำไมมีแบคทีเรียในลำไส้เป็นล้านตัว

ลำไส้-ขนาดใหญ่-เท่ากับสนามเทนนิส-แบคทีเรีย-โพรไบโอติก

อะไรเอ่ย รู้ว่ามีอยู่ในร่างกาย แต่แทบไม่รู้สึกคุ้นเคยเลย คำตอบคือลำไส้ของเรานั่นเอง ที่ต้องพูดแบบนี้ก็เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่อยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งก็แน่นอนว่าเรามองไม่เห็นเลยว่าหน้าตาจริงๆ เป็นอย่างไรและในแต่ละวันลำไส้ทำงานอย่างไรบ้าง  จนทำให้บ่อยครั้งเราละเลยที่จะดูแลสุขภาพลำไส้ ปล่อยให้เกิดความผิดปกติขึ้นแล้วค่อยหันมาใส่ใจดูแลรักษา ทั้งๆที่ลำไส้ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง และขึ้นชื่อว่าเป็น “สมองที่สอง” ของร่างกายด้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักลำไส้ของเราให้มากขึ้นกันครับ

คุณรู้จักลำไส้ดีแค่ไหน

1. ลำไส้ของเรามีความยาวถึง 9 เมตร และมีขนาดเนื้อที่เท่ากับสนามเทนนิสถึง 2 สนามรวมกัน กล่าวคือถ้าเราลองแผ่พื้นที่ของลำไส้เล็กออกมาแล้ววัดรวมขนาดพื้นที่ของลำไส้ทั้งหมดจะได้เนื้อที่ถึง 250 ตารางเมตรเลยทีเดียว ถ้าถามว่าพื้นที่ใหญ่ขนาดนี้แล้วมาอยู่ในร่างกายของเราได้ยังไง คำตอบก็คือภายในลำไส้มีใยเนื้ออ่อนจำนวนมากสลับทับซ้อนกันอยู่ ซึ่งการม้วนตัวของเนื้อเยื่อเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ลำไส้สามารถหดตัว ซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้
2. โดยปกติเรามีจุลินทรีย์กระจายอยู่ทั่วร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งในลำไส้จะเป็นจุดที่มีชุมชนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ที่สุด เพราะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ในนั้นมากถึง 5,000 สายพันธุ์ และมีจำนวนมากถึง 100 ล้านล้านตัว ซึ่งถ้านำแบคทีเรียในลำไส้ทั้งหมดมารวมกันอาจได้น้ำหนักถึง 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยแบคทีเรียก็จะมีทั้งชนิดดีและไม่ดีอาศัยรวมกันอยู่ในนั้น หากเรารักษาสมดุลร่างกายให้มีจุลินทรีย์ดีมากกว่าอยู่เสมอ ร่างกายก็จะทำงานได้ดีเป็นปกติ
3. ชุมชนจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนเราแต่ละคนจะมีความเฉพาะตัว เหมือนๆกับการที่เรามีลายนิ้วมือที่ไม่เหมือนกัน โดยสิ่งที่ต่างกันก็คือสายพันธุ์และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ต่างกันนอกจากจะเป็นเพราะยีนแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีอิทธิพลอย่างมาก เนื่องจากคนที่อยู่ต่างพื้นที่จะมีรูปแบบการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอาหารที่ทานไม่เหมือนกัน ทำให้ชนิดของแบคทีเรียที่ได้รับเข้าไปต่างกันด้วย 

หน้าที่ของลำไส้คืออะไร ทำไมต้องมีพื้นที่มากมาย ที่ปกคลุมไปด้วยแบคทีเรียมหาศาล

อาหารทุกอย่างที่เราทานเข้าไปล้วนต้องผ่านการบดย่อยโดยลำไส้ ให้มีขนาดเล็กพอที่จะดึงเอาสารอาหารส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย ธรรมชาติจึงสร้างลำไส้ให้มีขนาดที่ยาวมากพอและมีพื้นผิวที่ปกคลุมไปด้วยใยเนื้ออ่อนจำนวนหลายล้านเส้นที่ผนังลำไส้ เพื่อส่งเสริมการย่อยและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายให้ได้มากที่สุด ซึ่งหลังจากย่อยอาหารเสร็จแล้วกากอาหารก็จะถูกลำเลียงออกจากลำไส้เล็กไปที่ลำไส้ใหญ่เพื่อเตรียมขับออกจากร่างกายต่อไป

นอกจากนี้ลำไส้ยังมีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาโจมตีร่างกาย เพราะ 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่ผนังลำไส้ของเรา ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ลำไส้ก็จะกระตุ้นให้มีการส่งภูมิคุ้มกันออกไปสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ลำไส้จึงได้ชื่อว่าเป็นสมองที่ 2 ของร่างกาย เพราะไม่ต้องรอให้สมองสั่งการก็สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ ทั้งในส่วนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยและดูดซึมสารอาหาร

ถึงจะทำงานได้เอง แต่ลำไส้ก็ยังต้องการการกระตุ้นจากแบคทีเรียชนิดดี ที่เปรียบได้กับเชื้อเพลิงที่ส่งเสริมให้ลำไส้ขับเคลื่อนการทำงานได้ตามปกติ ในลำไส้ของเราจึงประกอบด้วยแบคทีเรียมากกว่า 5,000 สายพันธุ์ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของลำไส้ในด้านที่แตกต่างกัน มีทั้งสายพันธุ์ที่ช่วยเรื่องการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่เราทานเข้าไป สายพันธุ์ที่ช่วยในการผลิตสารสื่อประสาท เอนไซม์ วิตามิน และสายพันธุ์ที่มีบทบาทในการย่อยอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน

วิธีดูแลลำไส้ให้มีสมดุลแบคทีเรียดีอยู่เสมอ

  • ดูแลเรื่องอาหารที่เราทาน เพราะอาหารมีผลต่อการเพิ่มแบคทีเรียดีให้กับลำไส้ การทานอาหารที่หลากหลายส่งผลต่อการได้รับแบคทีเรียที่หลากหลายด้วย พร้อมกับการทานอาหารที่มีโพรไบโอติก (Probiotic) สูง เช่น ผักดอง โยเกิร์ต มิโซะ ถั่วหมัก ควบคู่กับอาหารประเภทไฟเบอร์ที่จะไปเป็นอาหารของแบคทีเรียดีอีกที นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีสารกันเสียหรือสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ นำไปสู่การอักเสบและเกิดสภาวะที่เรียกว่า “ลำไส้รั่ว” ได้
  • ความเครียดส่งผลต่อจำนวนที่ลดลงของแบคทีเรียได้เช่นกัน ดังนั้นควรแบ่งเวลาพักผ่อนให้เต็มที่ควบคู่กับการผ่อนคลายความเครียด และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีด้วย
  • เลี่ยงการทานยาปฏิชีวนะ หากจำเป็นต้องทานควรทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่แค่กำจัดแบคทีเรียก่อโรคแต่ก็สามารถทำลายแบคทีเรียดีตัวอื่นไปด้วย และหากใช้ในระยะยาวจะส่งผลถึงความหลากหลายของแบคทีเรียที่ลดลง โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ช่วยยับยั้งเชื้อก่อโรค
  • ทานอาหารเสริมโพรไบโอติก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์มากขึ้น เห็นได้จากการที่หลายสถาบันทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์โพรไบโอติกอย่างต่อเนื่อง จากงานวิจัยพบว่าการทานโพรไบโอติกเป็นประจำ ทำให้ลำไส้มีสมดุลแบคทีเรียที่ดีอยู่เสมอ เพราะโพรไบโอติกจะเข้าไปส่งเสริมให้แบคทีเรียชนิดดีเติบโตและมีจำนวนมากกว่าเชื้อก่อโรค ทั้งนี้ก่อนเลือกก็ต้องดูให้ดีว่าแต่ละแบรนด์มีการใช้สายพันธุ์โพรไบโอติกที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือไม่ โดยเฉพาะการมีผลการวิจัยและผลการทดสอบยืนยันในเรื่องประสิทธิภาพ รวมทั้งรูปแบบอาหารเสริมที่ควรป้องกันโพรไบโอติกจากความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ดี และขั้นตอนการผลิตต้องช่วยรักษาคุณภาพโพรไบโอติกให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้โพรไบโอติกพร้อมทำงานได้ทันทีที่ลงไปถึงลำไส้
บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
แจกเมนูอาหารสุขภาพดี กินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย ลำไส้ไม่พัง
PM2.5 ฝุ่นพิษละอองเล็ก แต่ทำร้ายได้ทั่วร่างกาย สร้างเกราะสู้กลับจากภายใน ด้วยโพรไบโอติก
ผลเสียจากการใช้ยาระบายบ่อย ระวังดื้อยาจนถ่ายเองไม่ได้
ทำไมลำไส้ถูกเปรียบเป็นสมองที่ 2 ของมนุษย์
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น