รับมือกับภาวะซึมเศร้าช่วงหน้าฝนด้วยโพรไบโอติก ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปพร้อมกัน

หน้าฝน-ทำให้ซึมเศร้า-โพรไบโอติกช่วยได้

จากที่เป็นคนอารมณ์ดียิ้มง่าย จู่ๆก็เปลี่ยนไปเป็น ซึม เศร้า รู้สึกเพลียทั้งๆที่ ก็ใช้ชีวิตไม่ได้ต่างจากเดิม สิ่งที่แปลกไปก็คงจะมีแค่อากาศช่วงหน้าฝน ที่ช่วงนี้แสงแดดน้อย ครึ้มบ่อย เพราะมรสุมที่พาเมฆฝนเข้ามาในบ้านเราช่วงนี้ หรือนี่จะเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเรา ถ้าใช่ควรดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตยังไง แล้วที่เคยมีคนบอกว่าโพรไบโอติก (Probiotic) ช่วยปรับสภาพอารมณ์ของเราจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มั้ย มาลองติดตามเฉลยไปด้วยกันครับ

อากาศเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่ออารมณ์ที่เปลี่ยนไปได้จริงหรือ

สังเกตตัวเองกันไหมครับว่าในแต่ละฤดูกาลที่อากาศแตกต่างกัน สภาพร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของเราจะค่อนข้างต่างกัน ในช่วงฤดูร้อนเรามักจะหงุดหงุด ฉุนเฉียวง่าย เครียด ส่วนฤดูฝนและฤดูหนาวเราจะรู้สึกเหงา เศร้า หดหู่ง่าย
คำตอบของอารมณ์ที่เปลี่ยนไปนี้ก็คือ “แสง” ที่โดยปกติแล้วจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนาฬิกาชีวิตของเรา ภายใต้ระบบร่างกายที่ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ จะถูกควบคุมโดยสมองที่หลั่งสารเคมีต่างๆ ออกมากระตุ้นให้แต่ละส่วนในร่างกายทำงานตามแต่ละช่วงเวลาใน 1 วัน กล่าวคือ นาฬิกาชีวิตทำงานสัมพันธ์กับแสงเช่น ในตอนเช้าที่มีแสงแดดร่างกายจะถูกกระตุ้นให้เรารู้สึกหิว ส่วนในตอนกลางคืนที่มืดเราจะรู้สึกง่วงเพราะระบบในร่างกายของเรารู้ว่าเป็นเวลาที่ต้องหยุดพักจึงหลั่งสารเคมีที่กระตุ้นให้เรารู้สึกง่วงออกมา

แต่เมื่อใดที่อากาศแปรปรวน แสงแดดมีน้อยในช่วงกลางวัน ความมืดกินเวลายาวนานขึ้น การหลั่งสารเคมีในร่างกายของเราก็แปรปรวนได้เช่นกัน โดยเฉพาะสารที่ส่งผลต่ออารมณ์และการนอนหลับ อย่าง 2 ตัวดังต่อไปนี้

  • เมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เมื่อมีแสงแดดน้อยเมลาโทนินจะหลั่งออกมาผิดปกติ ทำให้เรารู้สึกเซื่องซึม ง่วงนอนมากกว่าปกติ
  • เซโรโทนิน (Serotonin) ที่ช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ ช่วยให้เราอารมณ์แจ่มใส รู้สึกสงบ มีสมาธิ ในช่วงที่มีแสงแดดน้อย วิตามินดีที่เราจะได้จากแสงแดดก็น้อยลง เซโรโทนินจึงหลั่งได้น้อยกว่าปกติตามไปด้วย ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายตั้งแต่พฤติกรรมการกิน การย่อยอาหาร การนอน และที่สังเกตได้ชัดที่สุดก็คือด้านอารมณ์ ที่เราจะรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้เซโรโทนินยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเมลาโทนินด้วย หากร่างกายมีเซโรโทนินไม่เพียงพอ เมลาโทนินก็จะยิ่งลดลงไปอีกจะสังเกตได้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่อากาศหนาว มีแสงแดดน้อย กินเวลาหลายเดือนในหนึ่งปี อย่างเช่นประเทศในแถบตะวันตก ผู้คนมักจะต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่อากาศอบอุ่น มีฤดูร้อนและแสงแดดยาวนานกว่า


ซึ่งภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรืออีกชื่อคือ  Seasonal Affective Disorder จะสามารถเกิดกับใครก็ได้ ดังนั้นเมื่อเรารู้สาเหตุและไม่อยากจมอยู่กับความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นเพราะสภาพอากาศแบบนี้นานๆ ก็ต้องปรับพฤติกรรมทั้งเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่จะต่อสู้กับสภาพอากาศแปรปรวนได้ และเพื่อให้สภาวะจิตใจแข็งแกร่ง ไม่อ่อนไหวง่าย มีสมาธิทำงานได้อย่างราบรื่นเหมือนที่ผ่านมา

เคล็ดลับดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจช่วงอากาศเปลี่ยน

  • หากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการอยู่นิ่งๆ ให้หมกหมุ่นกับความรู้สึกเศร้า โดยเฉพาะในวันที่อากาศปลอดโปร่ง ควรออกไปข้างนอกให้ร่างกายได้รับแสงแดดอ่อนๆ เพื่อเพิ่มวิตามินดีและเซโรโทนินให้ร่างกาย
  • ฝึกนิสัยการนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ควบคู่กับการฝึกสมาธิเพื่อคลายเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเซโรโทนิน รวมทั้งผักผลไม้ที่มีกากใยซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้ ซึ่งเป็นจุดที่ผลิตเซโรโทนินมากที่สุด

การเพิ่มแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้ ช่วยเพิ่มเซโรโทนินได้อย่างไร

เซโรโทนินในร่างกายกว่า 90% จะถูกสร้างจากลำไส้ ดังนั้นถ้าลำไส้มีสุขภาพดีก็จะยิ่งผลิตเซโรโทนินออกมาได้ดีตามไปด้วย โดยปกติภายในลำไส้จะมีแบคทีเรียชนิดดีอาศัยอยู่หลายล้านตัว ทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมมาก่อกวนการทำงาน กระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัว สร้างภูมิคุ้มกันและฮอร์โมนสำคัญออกมา โดยเฉพาะเซโรโทนินตามที่เราได้พูดถึงไป

ซึ่งการทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกสูงเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ ให้มีความหลากหลายและมีจำนวนมากพอที่จะรักษาสมดุลภายใน ทำให้ลำไส้พร้อมทำหน้าที่ต่างๆได้ดีอยู่เสมอ แม้อยู่ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง สารสื่อประสาทอย่างเซโรโทนินก็จะยังถูกผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ จึงช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ความรู้สึกอ่อนเพลีย ในช่วงหน้าฝนที่ท้องฟ้าไม่สดใสอย่างตอนนี้ได้

บทความแนะนำ
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
เป็นไข้หวัดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ระวังกินพร่ำเพรื่อ ส่งผลทั้งดื้อยาและทำลายแบคทีเรียดีในลำไส้
แจกเมนูชาวออฟฟิศ รวม 5 สารอาหารที่วัยทำงานต้องการ
ยิ่งเครียดยิ่งกินเกิดจากอะไร ส่งผลถึงโพรไบโอติกในลำไส้ได้อย่างไรบ้าง
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น