ท้องผูกแก้ไม่หาย ทั้งที่กินผักเยอะ เกิดจากอะไร

ใครๆก็บอกว่าถ้าอยากขับถ่ายดี ต้องกินผักเยอะๆ เราก็ขยันกินผักทุกวัน แต่ละครั้งหมดไปชามใหญ่ แต่ทำไมเราไม่ได้ขับถ่ายดีขึ้น บางครั้งกลายเป็นว่าท้องผูกกว่าเดิมอีก สุดท้ายก็ต้องกลับไปพึ่งยาระบายแก้ปัญหาท้องผูกอยู่ดี
แต่นักกินผักอย่าเพิ่งล้มเลิกความตั้งใจที่จะดูแลสมดุลมื้ออาหาร โดยการเพิ่มปริมาณผักที่กินไปซะก่อนนะครับ คุณเริ่มต้นได้ถูกทางแล้ว เพียงแต่จะต้องปรับแผนการทานผักอีกหน่อยเท่านั้น จะเป็นเรื่องอะไรเรามาค่อยๆ ทำความเข้าใจเรื่องการขับถ่ายไปพร้อมๆ กันก่อนครับ

อาการแบบไหนคือท้องผูก

  • ความถี่ของการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ถ่ายอุจจาระลำบาก เหมือนมีอะไรมากั้นอยู่
  • ต้องใช้แรงเบ่งมาก บางครั้งต้องใช้น้ำฉีดช่วย
  • อุจจาระเหนียวและแข็ง
  • มีอาการถ่ายอุจจาระไม่สุด
  • ต้องใช้เวลาถ่ายอุจจาระนานกว่าปกติ

ท้องผูกทั้งที่กินผักเยอะเกิดจากอะไร

ตามความเข้าใจของเรา การทานผักผลไม้ที่มีกากใยจะช่วยเพิ่มปริมาณและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ถูกขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่ความเข้าใจนี้ก็ไม่ได้ถูกต้องแบบ 100% เพราะหากเราทานผักที่มีกากใยสูงมากเกินไป กากใยก็ยิ่งเข้าไปเพิ่มความเหนียวให้กับอุจจาระมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่กำลังมีปัญหาท้องผูกแล้วยิ่งกินผักหรือผลไม้ที่มีกากใยสูงเข้าไปมากๆ เพราะคิดว่าจะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่ากากใยเหล่านั้นอาจย่อยได้ไม่หมด สุดท้ายก็ไปรวมตัวเกิดเป็นอุจจาระก้อนใหม่ ที่เข้าไปทับถมกับของเดิมที่เหนียวและแข็งอยู่แล้ว ทำให้ถ่ายยากขึ้นไปอีก

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ท้องผูกได้

นอกจากเรื่องการทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูงมากไปจะมีผลต่อการขับถ่ายแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้การขับถ่ายทำได้ลำบากด้วยเช่นกัน โดยสาเหตุที่ซ่อนอยู่เหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

  • การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ผิดปกติ จากที่มีการบีบตัวตลอดก็ลดน้อยลง รวมทั้งแรงบีบที่ทำให้รู้สึกอยากถ่ายก็ลดลงไปด้วย อาจจะเหลือเพียง 2 ครั้งต่อวัน จากที่เคยมีแรงบีบ 8 ครั้ง ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวในลำไส้ได้ช้าลง จนไม่รู้สึกอยากขับถ่าย ความถี่ในการขับถ่ายน้อยลงเรื่อยๆ เกิดอุจจาระสะสมในลำไส้มากขึ้น เมื่อปล่อยไว้นานๆ น้ำจะถูกดูดออกจากก้อนอุจจาระไปเรื่อยๆ ทำให้อุจจาระยิ่งแข็งและถูกขับออกได้ลำบาก
  • กล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ เมื่อออกแรงเบ่งอุจจาระแทนที่กล้ามเนื้อตรงทวารหนักจะคลายตัว แต่กลับบีบรัดมากขึ้นจนทำให้ไม่สามารถถ่ายอุจจาระออกมาได้ คนที่มีปัญหานี้มักจะรู้สึกถ่ายไม่สุด รู้สึกอยากถ่ายแต่เมื่อเข้าห้องน้ำกลับถ่ายไม่ออก ต้องใช้เวลาและจะรู้สึกเจ็บขณะเบ่งอุจจาระ
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาอาการทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ รักษาอาการพาร์กินสัน ยาแก้แพ้บางชนิด ยาลดความดันโลหิต ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม เป็นต้น
  • มีอาการลำไส้รั่ว ซึ่งเป็นภาวะที่เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เกิดความเจ็บป่วยหลายอย่าง ตั้งแต่มีผดผื่นตามร่างกาย ปวดศีรษะ รวมทั้งอาหารไม่ย่อย ท้องอืด และอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียในบางช่วง 

ท้องผูกบ่อยจะแก้ได้อย่างไรบ้าง

  • ทานผักให้หลากหลายชนิดขึ้น นอกจากชนิดที่เพิ่มกากใยแล้วควรทานชนิดที่มีเมือกลื่นๆเพิ่มเข้าไปเสริมด้วย โดยเฉพาะคนที่กำลังมีปัญหาท้องผูก ผักที่มีเมือกยกตัวอย่าง เช่น มะเขือเปราะ กระเจี๊ยบเขียว ซึ่งควรนำไปผ่านการปรุงให้นิ่มลงก่อน
  • ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 1.5 -2 ลิตร ค่อยๆจิบบ่อยๆ ระหว่างวัน และควรลดปริมาณการดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมที่จะไปเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร 
  • เพิ่มการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหวตาม
  • ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาท้องผูกที่มีความรู้สึกอยากขับถ่ายน้อยลง และมักจะอยากถ่ายในช่วงเช้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตอนเช้าจึงเป็นช่วงที่เหมาะจะฝึกการขับถ่ายให้เป็นกิจวัตร
  • ลดการทานอาหารแปรรูป ของหมักดอง ขนมปัง น้ำตาล นมวัว ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะลำไส้รั่ว 
  • ทานโพรไบโอติกเป็นประจำ เพื่อรักษาสมดุลแบคทีเรียดี ซึ่งจะมีมากที่สุดในลำไส้และทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้เกิดการเคลื่อนตัว สร้างเอนไซม์สำคัญออกมาย่อยอาหาร และสามารถบีบตัวเพื่อลำเลียงของเสียไปที่ทวารหนักเพื่อขับถ่ายออกจากร่างกาย นอกจากนี้โพรไบโอติกยังช่วยปกป้องผนังลำไส้โดยการเข้าไปยึดเกาะ เพิ่มจำนวนและทำหน้าที่เสมือนเกราะปกป้องไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคเข้ามาจับที่ผนังลำไส้ได้ จึงช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะลำไส้รั่วได้ดีอีกทาง ซึ่งปัจจุบันเราสามารถทานโพรไบโอติกได้สะดวกมากขึ้นในรูปแบบของอาหารเสริมที่พกพาไปทานได้ทุกที่ ให้โพรไบโอติกได้จำนวนมากกว่า และคุณภาพคงที่กว่าการรับโพรไบโอติกจากการทานอาหารบางชนิด เช่น โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวตามที่เราคุ้นเคย (ซึ่งบางตัวไม่มีโพรไบโอติกในนั้นด้วยซ้ำ)
บทความแนะนำ
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
โพรไบโอติก มีผลข้างเคียงไหม ทานแบบไหนไม่อันตราย
เป็นไข้หวัดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ระวังกินพร่ำเพรื่อ ส่งผลทั้งดื้อยาและทำลายแบคทีเรียดีในลำไส้
รู้สึกอ่อนเพลียง่าย? สาเหตุอาจจะไม่ได้มาจากการนอนหลับเสมอไป
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น