ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร อาการเป็นอย่างไร การทานโพรไบโอติกช่วยป้องกันลำไส้ขี้เกียจได้หรือไม่

ลำไส้ขี้เกียจ-โพรไบโอติก probiotic 1

ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร มีแบบนี้ด้วยเหรอ เราก็คิดมาตลอดว่าอวัยวะภายในร่างกายมีกลไกที่ทำให้ตัวมันเองสามารถทำงานได้ต่อเนื่องทุกวัน โดยเฉพาะในส่วนของลำไส้ที่เปรียบเสมือนสมองที่สอง เพราะสามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องรอคำสั่งการจากสมอง เมื่อเป็นแบบนี้แล้วลำไส้จะขี้เกียจได้ยังไง แล้วถ้ามันเกิดขึ้นแล้วร่างกายเราจะเป็นยังไง เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าอวัยวะส่วนนี้ทำหน้าที่ย่อย ดูดซึมสารอาหาร และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย

ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร

โดยปกติลำไส้จะบีบตัวและเคลื่อนไหวได้เองเพื่อลำเลียงของเสียไปที่ส่วนปลายสุด และขับออกจากร่างกายผ่านทางทวารหนัก แต่ถ้าเกิดภาวะลำไส้ขี้เกียจขึ้นแล้วก็จะทำให้มีอาการท้องผูก ขับถ่ายยาก เนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวและบีบตัวช้า อุจจาระจึงถูกลำเลียงไปที่ลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ และยังคงตกค้างอยู่ในลำไส้แบบนั้น เมื่อของเสียตกค้างก็ทำให้เราเกิดความไม่สบายตัว กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

สาเหตุของลำไส้ขี้เกียจเกิดจากอะไร

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการลำไส้ขี้เกียจก็คือการใช้ยาระบายต่อเนื่องเป็นประจำ หรือกินเกือบทุกวันติดต่อกันเกิน 2 อาทิตย์ ยาระบายจะเข้าไปกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและเกิดการขับถ่ายได้ในเวลารวดเร็ว การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการฝืนลำไส้ให้ทำงานตามการกระตุ้นของยา ยิ่งใช้ยาระบายไปเรื่อยๆ ลำไส้จะเกิดความเคยชินและจดจำว่าต้องทำงานเฉพาะเวลาที่มีการใช้ยาระบายเข้าไปกระตุ้นเท่านั้น  สิ่งที่ตามมาคือกล้ามเนื้อในลำไส้บีบตัวน้อยลง เริ่มทำงานเองไม่เป็น ไม่สามารถบีบตัวเอง จนในที่สุดลำไส้ก็ดื้อยาจนใช้ยาระบายไม่ได้ผลอีกต่อไป กลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังโดยสมบูรณ์

ลำไส้ขี้เกียจส่งผลเสียกับร่างกายอย่างไร

ลำไส้ขี้เกียจจะส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องทำเป็นกิจวัตรทุกวัน เมื่อระบบขับถ่ายผิดปกติก็ทำให้กิจวัตรอื่นๆ รวนไปด้วยได้  ผู้ที่มีภาวะลำไส้ขี้เกียจจะถ่ายได้ยากกว่าปกติ เพราะลำไส้ไม่บีบตัวเพื่อดันของเสีย จึงต้องออกแรงเบ่งมากๆ ให้ถ่ายออก รู้สึกเจ็บขณะเบ่งอุจจาระ หลังขับถ่ายไปแล้วก็ยังรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด ที่แย่กว่านั้นคือบางคนอาจไม่อุจจาระเลยในช่วง 2-3 สัปดาห์

ลำไส้ขี้เกียจทำให้มีปัญหาท้องผูก แน่นท้อง รู้สึกจุกเสียดเพราะมีแก๊สในท้องซึ่งเกิดจากการมีอุจจาระตกค้าง บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้ร่วมด้วย ถ้าปล่อยให้ลำไส้ขี้เกียจจนท้องผูกเรื้อรังอาการก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเกิดแผลในลำไส้ มีมูกเลือดออกมากับอุจจาระ อาจกลายเป็นสาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน และปัญหาอุจจาระเต็มท้องได้  

วิธีเปลี่ยนพฤติกรรม ลดท้องผูก ลดการใช้ยาระบาย ก่อนกลายเป็นลำไส้ขี้เกียจ

  1. ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน และหากรู้สึกปวดอุจจาระขณะทำกิจกรรมหรือทำธุระ ควรหาทางเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายทันที ไม่ควรกลั้นอุจจาระไว้ เพราะจะทำให้ถ่ายได้ยากขึ้นในภายหลัง หรือถ้าใครกลั้นบ่อยๆ ก็อาจส่งผลต่อการถ่ายอุจจาระได้ยากขึ้นในเวลาต่อมาได้
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้อีกทาง 
  3. ทานอาหารอย่างพอดีและทานในปริมาณเท่าๆกันทุกมื้อ ไม่หนักมื้อใดมื้อหนึ่งเกินไป เพิ่มการทานอาหารที่มีไฟเบอร์และดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้อุจจาระนิ่ม ถ่ายง่ายขึ้น นอกจากนี้ไฟเบอร์ยังเป็นอาหารของโพรไบโอติก (Probiotic) หรือจุลินทรีย์ชนิดดีที่คอยดูแลลำไส้ด้วย 
  4. เสริมโพรไบโอติกให้ร่างกาย เพราะโพรไบโอติกจะเข้าไปเกาะที่ผนังลำไส้เพื่อปกป้องไม่ให้มีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมารบกวนการทำงานของลำไส้ และช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี ซึ่งเราสามารถเพิ่มโพรไบโอติกได้ทั้งจากการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง หรือทานในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งนอกจากจะสะดวกในการทานแล้ว ยังมั่นใจได้ว่าจะได้รับโพรไบโอติกในปริมาณที่แน่นอนและเพียงพอ ซึ่งสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในการเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติก มีดังนี้
  • ดูสายพันธุ์โพรไบโอติก (Probiotic) ที่แบรนด์นั้นใช้ ต้องเป็นสายพันธุ์ที่มีผลการรับรองและมีการทดสอบในผู้ใช้จริงว่าสามารถให้ผลดีในการดูแลลำไส้ได้
  • ปริมาณโพรไบโอติกที่ใส่มาต่อ 1 หน่วยบริโภค ควรมีโพรไบโอติกอย่างน้อย 1 พันล้าน CFU (ทั้งนี้แต่ละแบรนด์จะใส่มาในปริมาณที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ใช้)
  • รูปแบบของอาหารเสริม ควรเป็นแบบแคปซูลทนกรด เพื่อปกป้องไม่ให้โพรไบโอติกโดนน้ำย่อยทำลายจนหมดก่อนเดินทางไปถึงลำไส้
บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันง่ายๆ สำหรับคนวัยทอง ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค ร่างกายไม่เสื่อมตามวัย
แปรงฟันบ่อย เเล้วทำไมยังมีกลิ่นปาก!?? ไปหาคำตอบจากเรื่องนี้กันครับ
โพรไบโอติก มีผลข้างเคียงไหม ทานแบบไหนไม่อันตราย
รับมือกับภาวะซึมเศร้าช่วงหน้าฝนด้วยโพรไบโอติก ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปพร้อมกัน
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น