ภาวะอุจจาระตกค้าง ไม่ว่าใครก็มีความเสี่ยง อยากหลีกเลี่ยงต้องทำอย่างไร โพรไบโอติกช่วยได้ไหม

โพรไบโอติก-probiotic-อุจจาระตกค้าง-ท้องผูก

ปัญหาขับถ่ายไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะเรื่องขับถ่ายยาก ท้องผูกเรื้อรัง กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่คนเริ่มเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มที่พบบ่อยก็มักจะเป็นผู้หญิงและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มหลังนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ในวัยหนุ่มสาวมักเกิดจากการใช้ชีวิตที่บ่อนทำลายสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ซึ่งหากเราปล่อยให้เกิดปัญหาขับถ่ายยากหรือท้องผูกเรื้อรังไปนานๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา เช่น ภาวะอุจจาระตกค้าง ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักให้มากขึ้นกันในวันนี้

อุจจาระตกค้าง คืออะไร

เป็นภาวะที่เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งการเกิดอุจจาระตกค้างลำไส้ มาจากการที่ขับถ่ายออกไม่หมดเพราะมีอาการท้องผูกเรื้อรังหรือขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ยิ่งปล่อยให้อุจจาระเก่าตกค้างนานก็ยิ่งแห้ง แข็ง เกาะติดในลำไส้ เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็ขับถ่ายไม่สะดวกเกิดการตกค้างสะสมรวมกับอุจจาระเก่าไปเรื่อยๆ อาการท้องผูกจึงยิ่งรุนแรงขึ้น เกิดเป็นอาการอื่นๆตามมา ทั้ง เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจติดขัด เกิดลมในท้องจำนวนมาก และหากปล่อยไว้แบบนี้นานๆก็มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในเวลาต่อมา

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นภาวะอุจจาระตกค้าง

  • เบื่ออาหาร ทานได้น้อยลงมาก
  • เรอเปรี้ยว ขมคอ และผายลมทั้งวัน
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง
  • แน่นท้อง ปวดท้อง ท้องอืด
  • ปัสสาวะบ่อยเพราะกระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
  • รู้สึกเหมือนว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด หรือออกมาไม่หมดท้อง
  • หายใจติดขัด ต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา
  • นอนไม่หลับ อ่อนเพลียง่าย ปวดหลังส่วนล่าง

จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกและภาวะอุจจาระตกค้างได้อย่างไร

  1. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน รวมถึงการฝึกเบ่งถ่ายอุจจาระให้ถูกวิธี เพื่อให้ถ่ายอุจจาระออกมาได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาขับถ่ายยาก การฝึกทำได้โดยการนั่งบนชักโครกแล้วโค้งตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ขณะขับถ่ายให้ใช้มือกดท้องด้านล่างซ้าย เพื่อเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้จึงถ่ายได้ง่ายขึ้น 
  2. ขับถ่ายทันทีหลังปวดอุจจาระ ไม่กลั้นอุจจาระไว้นานๆ เพราะอาจทำให้ขับถ่ายยากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ควรเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือพยายามเบ่งทั้งที่ยังไม่รู้สึกปวดอุจจาระ เพราะการเบ่งแรงๆเป็นการเพิ่มแรงดันในลำไส้ หากทำบ่อย ๆ จะทำให้ลำไส้โป่งพอง และอาจเกิดริดสีดวงทวารได้
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือลุกขึ้นขยับร่างกายเบาๆ หลังรับประทานอาหารเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้บีบตัว ในส่วนของกระเพาะอาหารก็ย่อยดีขึ้นด้วย 
  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน เพราะการดื่มน้ำช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ โดยค่อยๆจิบระหว่างวัน ทีละแก้วทุกชั่วโมง 
  5. ลดอาหารที่มีไขมันสูง เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยยากให้น้อยกว่าอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ที่มีไฟเบอร์หรือไยอาหารสูง นอกจากไฟเบอร์เหล่านี้จะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและเคลื่อนตัวในลำไส้ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดีที่ชื่อโพรไบโอติกซึ่งทำหน้าที่ดูแลลำไส้ให้ทำหน้าที่ย่อย ดูดซึมสารอาหารและกระตุ้นการขับถ่ายได้ดี
  6. ทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ไพรโอติก (Probiotic) สูงเป็นประจำ อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง ยกตัวอย่างเช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ผักดอง หรืออาหารเสริมโพรไบโอติก  แต่ก่อนที่เล่าจะถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกในลำดับต่อไป เราอยากให้คนที่คิดว่าการเสริมโพรไบโอติกไม่จำเป็น ลองเปิดใจและทำความเข้าใจใหม่ก่อนว่า โพรไบโอติกไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม แต่เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ร่างกายต้องการไม่ต่างกับสารอาหารอื่นๆ ที่เราเติมให้ร่างกายทุกวัน ซึ่งโพรไบโอติกจะกระจายอยู่ตามอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ส่งเสริมให้ส่วนที่พวกมันอาศัยอยู่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลำไส้ที่ทำหน้าที่ในการย่อยและขับถ่าย ซึ่งเป็นส่วนที่มีโพรไบโอติกอาศัยอยู่มากที่สุด
    โพรไบโอติกจะช่วยปรับสมดุลในทางเดินอาหาร ตั้งแต่กระตุ้นการสร้างเอนไซม์หลายชนิดออกมาย่อยอาหาร เมื่อกากอาหารมีขนาดเล็กก็ทำให้เคลื่อนตัวและถูกกำจัดออกไปได้ง่าย นอกจากนี้โพรไบโอติกยังช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ให้สามารถขับของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันโพรไบโอติกที่จับอยู่ตามผนังลำไส้ก็ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคสามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายได้ด้วย จากทั้งหมดนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเราจึงต้องเสริมโพรไบโอติกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
บทความแนะนำ
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
กินของหวานแล้วดีต่อใจ ระวังแบคทีเรียดีในลำไส้โดนทำลายไม่รู้ตัว ข้อเสียของการกินน้ำตาลเยอะมีอะไรบ้าง
6 เคล็ดลับชะลอวัย ไม่แก่ง่าย ฟื้นฟูความอ่อนเยาว์จากภายในแบบไม่ต้องพึ่งหมอ
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น