ทานซุปหม่าล่าอร่อยเพลิน ระวังเผ็ดเกินจนเดือดร้อนลำไส้ แต่โพรไบโอติกช่วยคุณได้นะ

ทานซุปหม่าล่า-โพรไบโอติก-แสบท้อง-ท้องเสีย

เผ็ดร้อนยังไงก็รัก ต้องยกให้ซุปชาบูหม่าล่าที่กำลังเป็นที่นิยมมากในบ้านเราตอนนี้ ด้วยความที่คนไทยอย่างเราเคยชินและชื่นชอบการทานเผ็ดและชอบอาหารประเภทแกงหรือน้ำซุปอยู่แล้ว และความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศยังมีฤทธิ์ช่วยให้เจริญอาหารอีก เลยไม่น่าแปลกใจที่หลายคนจะยกให้ชาบูหม่าล่าเป็นเมนูโปรดที่ต้องไปกินซ้ำบ่อยๆ 

แต่อร่อยได้ไม่นาน หลายคนก็มักรู้สึกไม่สบายท้อง ทั้งท้องอืด ท้องเสีย หลังทานกันแทบทุกครั้ง และแน่นอนครับว่าแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหารก็หนีไม่พ้นจากฤทธิ์ของความเผ็ดและความมันในซุปหม่าล่าไปด้วย

การทานซุปหม่าล่าที่เผ็ดและมันมากๆ ส่งผลกับทางเดินอาหารอย่างไร

  1. เกิดอาการแสบร้อนในช่องปาก โดยเฉพาะ ริมฝีปาก เพดานปาก ลิ้น เหงือก และส่วนอื่นๆในช่องปาก ทำให้รู้สึกหิวน้ำ และอาจทำให้ลิ้นเกิดการรับรสที่ผิดเพี้ยนหรือเสียการรับรสได้
  2. อาหารที่มันและโดยเฉพาะอาหารที่มีรสเผ็ดมากๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร เพราะสารที่ชื่อแคปไซซินในพริก ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาหารไม่ย่อยและแก๊สในกระเพาะอาหาร เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งอาการคลื่นไส้ และถ้าเกิดการอาเจียน ก็จะมีกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้หลอดอาหารระคายเคืองได้
  3. ส่งผลต่อสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ซุปหมาล่าที่มีความมัน รสเค็ม และรสเผ็ดจัด จะเข้าไปสร้างความระคายเคืองในลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดี ที่คอยดูแลลำไส้ แบคทีเรียก่อโรคจึงยิ่งเติบโตได้ดีขึ้นและมีมากพอที่จะรบกวนการทำงานของลำไส้หรือแม้แต่แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย เพราะถ้าลำไส้อ่อนแอไม่เพียงแค่การย่อยอาหารและการขับถ่ายจะแย่ลง แต่ระบบภูมิคุ้มกันก็แย่ลงด้วย

ทานซุปหม่าล่ายังไงให้ถูกปากและไม่ลำบากไปถึงลำไส้

  • โดยปกติซุปหมาล่าจะมีการปรุงด้วยเครื่องเทศ พริกหม่าล่า น้ำมันในปริมาณมาก ให้มีรสชาติที่เข้มข้นเพื่อให้เนื้อที่นำลงไปลวกซึมซับรสชาติที่เข้มข้นจากน้ำซุปขึ้นมาด้วย เมื่อเป็นแบบนี้เราจึงควรเน้นลวกเนื้อแทนการซดน้ำซุปหม่าล่าเปล่าๆจะดีกว่า เพื่อเลี่ยงการทานซุปที่มีรสจัดจ้านมากเกินไปจนไประคายเคืองระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ถ้าต้องการทานน้ำซุปควรสั่งน้ำซุปชนิดอื่นที่รสชาติอ่อนกว่ามาทานเพิ่ม (ร้านส่วนใหญ่มักจะมีบริการหม้อที่แบ่งสองฝั่งอยู่แล้ว เพื่อให้เราได้ทานซุปสองแบบทั้งสำหรับเน้นลวกเนื้อและสำหรับทานเปล่าๆ)
  • สำหรับคนที่ไม่ได้กินเผ็ดเป็นประจำควรเลือกระดับความเผ็ดที่น้อยลงมา หรือถ้าทางร้านไม่มีระดับความเผ็ดให้เลือกก็อาจลองผสมซุปหม่าล่ากับซุปที่รสชาติอ่อนลงมา เพื่อลดความเข้มข้นและเผ็ดร้อนลง แต่คนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนควรเลี่ยงการทานเผ็ดจะดีที่สุด หรือหากอาการดีขึ้นแล้ว ควรเริ่มทานจากรสชาติอ่อนๆ เผ็ดน้อยๆ
  • ความเผ็ดจะทำให้รู้สึกเจริญอาหาร ทำให้เราทานได้มากขึ้นและเผลอทานเร็วเกินไป ดังนั้นควรพยายามเคี้ยวอาหารให้ช้าลงและเคี้ยวให้ละเอียดๆ เพื่อให้อาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่เราทานกับซุปหม่าล่าย่อยได้ง่าย และช่วยให้อิ่มไวขึ้น
  • ทานอาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotic) ก่อนทานมื้ออาหารรสจัดจ้าน เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีไปเสริมทัพชุมชนแบคทีเรียในลำไส้ให้แข็งแกร่งขึ้น เมื่อทานอาหารที่มีรสจัดเข้าไปเราก็จะยังสามารถรักษาสมดุลแบคทีเรียดีให้มากกว่าตัวก่อโรคได้อยู่ ลำไส้จึงยังคงทำงานได้ดี สามารถย่อยอาหารมื้อหนักและเคลื่อนตัวเพื่อให้เกิดการขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ จึงช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสียหลังทานชาบูหม่าล่าที่มีรสชาติเผ็ดจัดจ้านได้

ทีนี้เราก็ทานหม่าล่าได้อย่างมีความสุขมากขึ้นแล้วนะครับ เพียงแค่ระวังเรื่องการทานตามที่ได้แนะนำไป โดยไม่ต้องมาทรมานกับความไม่สบายท้องหลังการทานอาหาร และไม่กระทบกับสุขภาพทางเดินอาหารและลำไส้ของเราด้วยนะครับ

บทความแนะนำ
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
อาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก (PROBIOTIC) เยอะกว่า คุ้มค่ากว่า จริงหรือ?
การกินอาหารดี มีประโยชน์ อาจไม่ได้ให้ผลดีกับร่างกายเสมอไป เป็นเพราะอะไรได้บ้าง
อาการคัน ตกขาว ที่ช่องคลอด อาจเกิดจากการเสียสมดุลแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น