อาการคัน ตกขาว ที่ช่องคลอด อาจเกิดจากการเสียสมดุลแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก

เสียสมดุลแบคทีเรียดี-โพรไบโอติก-ตกขาว-คัน-ช่องคลอด

อาการคัน ตกขาว ที่จุดซ่อนเร้นมาจากไหน ทั้งที่เราก็ดูแลความสะอาดร่างกายเป็นอย่างดี ต้องบอกว่าเรื่องของความสะอาดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลน้องสาวจากภายนอกเท่านั้น เพราะภายในจุดซ่อนเร้นหรือช่องคลอดมีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และต้องการการดูแลให้มีสมดุลที่ดีอยู่เสมอเช่นกัน

ก่อนจะเล่าเรื่องวิธีรักษาสมดุลในช่องคลอดในลำดับต่อไป ต้องขอเล่าก่อนว่าโดยปกติช่องคลอดของผู้หญิงก็มีแบคทีเรียประจำถิ่น เหมือนกับส่วนอื่นๆในร่างกาย เช่น ลำไส้ ช่องปาก ทางเดินหายใจ ซึ่งแบคทีเรียส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่มีความสามารถในการรักษาค่า pH ในช่องคลอดให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเติบโตของทั้งแลคโตบาซิลลัสเองและแบคทีเรียดีอื่นๆ ในระบบนิเวศน์ ให้มีมากพอที่จะทำหน้าที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคไม่ให้มารบกวนช่องคลอดรวมทั้งทางเดินปัสสาวะส่วนปลายจนเกิดอาการติดเชื้อและเจ็บป่วย

การติดเชื้อในช่องคลอด มีลักษณะอย่างไรได้บ้าง

  1. การติดเชื้อรา โดยเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ Candida albicans  ลักษณะการตกขาวจะเหมือนนมหรือเป็นก้อนเหมือนแป้งเปียก มีผื่น อาการคัน การบวมหรือแดงร่วมด้วย จะรู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ซึ่งสาเหตุการติดเชื้อรามาจากความอับชื้นในช่องคลอด การใส่เสื้อผ้าที่คับเกินไป การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือมีการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  2. การติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อนี้อยู่แล้ว การตกขาวจะมีสีเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นเปรี้ยว เป็นฟอง   ร่วมกับการมีอาการคัน แสบร้อน หรือบวมแดงที่ปากช่องคลอด รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. การติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือเกิดขึ้นเองเพราะระบบนิเวศน์จุลินทรีย์ที่ช่องคลอดเสียสมดุล จากการมีแบคทีเรียก่อโรคมากกว่าแบคทีเรียดี ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นอาจเกิดจากการดูแลสุขอนามัยอย่างไม่เหมาะสม เช่น ใส่เสื้อผ้าไม่สะอาด การสวนล้างช่องคลอด การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีน้ำหอม หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองจนทำให้แบคทีเรียดีโดนทำลาย โดยเฉพาะแลคโตบาซิลลัสที่มีมากที่สุด ซึ่งการตกขาวจากแบคทีเรียมักมีสีเหลือง ขาวหรือเทา และอาจมีกลิ่นคาวด้วย รวมถึงมีอาการคัน รู้สึกแสบตอนปัสสาวะหรือขณะมีเพศสัมพันธ์

ดูแลช่องคลอดให้มีสมดุลที่ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ต้องทำอย่างไร

  • ดูแลเรื่องสุขอนามัย ทำความสะอาดร่างกาย ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น
  • ไม่สวนล้างช่องคลอด ลดการใช้น้ำยาที่อาจมีน้ำหอมหรือสารระคายเคือง ใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาดจะดีที่สุด
  • ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอจนระดับภูมิต้านทานลดลง ทำให้แบคทีเรียร้ายเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มจำนวนเชื้อแบคทีเรียดี โดยเฉพาะแลคโตบาซิลลัส (Lactobacilli) เพื่อรักษาสมดุลในช่องคลอดให้มีจุลินทรีย์ดีมากกว่าอยู่เสมอ ด้วยการเสริมโพรไบโอติก

การเสริมโพรไบโอติก (Probiotic) ช่วยรักษาสมดุลช่องคลอดได้อย่างไร

โพรไบโอติก (Probiotic) คือจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในร่างกายของเราตั้งแต่เกิด โดยมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในลำไส้ซึ่งเป็นจุดที่จุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านี้ช่วยในการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร และการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกยังมีบทบาทสำคัญในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมถึงช่องคลอดของผู้หญิง

ทำไมโพรไบโอติกถึงช่วยรักษาสมดุลในช่องคลอดได้?

ช่องคลอดของผู้หญิงมีสภาวะแวดล้อมที่ต้องการสมดุลของแบคทีเรียที่เหมาะสม แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นโพรไบโอติกชนิดสำคัญที่พบในช่องคลอด มีบทบาทในการรักษาค่า pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคก่อโรค การเสริมโพรไบโอติกสามารถช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีเหล่านี้และรักษาสมดุลในช่องคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับสุขภาพช่องคลอด:

  • ปรับสมดุลค่า pH ให้เหมาะสม: ค่า pH ในช่องคลอดที่เป็นกรดอ่อนๆ จะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคก่อโรค เช่น เชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นอันตราย การเสริมโพรไบโอติกที่มีแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสจะช่วยรักษาค่า pH นี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ป้องกันการติดเชื้อ: โพรไบโอติกช่วยป้องกันเชื้อโรคก่อโรคไม่ให้จับตัวและเจริญเติบโตที่เยื่อบุช่องคลอด โดยสร้างสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรดและผลิตสารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโรค
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน: โพรไบโอติกมีบทบาทในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำในผู้ที่เคยมีประวัติการติดเชื้อมาก่อน

ข้อควรทราบเพิ่มเติม:

การใช้ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง หรือความเครียดสามารถทำให้สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดเสียไปได้ ทำให้การเสริมโพรไบโอติกมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูสมดุลนี้ การเลือกโพรไบโอติกที่มีแบคทีเรียสายพันธุ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพช่องคลอดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

การจะเสริมโพรไบโอติกก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย เพราะสามารถเพิ่มได้จากการรับประทานอาหารจำพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซุปมิโซะ กิมจิ ถั่วนัตโตะ ซึ่งค่อนข้างหาทานได้ทั่วไป นอกจากอาหารเหล่านี้แล้วก็มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นอีก นั่นก็คือการทานโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งสามารถพกพาไปทานได้ทุกที่ ทุกเวลา การเก็บรักษาก็ง่ายกว่า แถมยังมั่นใจได้ว่าจะได้โพรไบโอติกเป็นจำนวนมากพอกับที่ร่างกายต้องการ แต่ทั้งนี้การเลือกก็ต้องดูในเรื่องของสายพันธุ์ที่แต่ละแบรนด์เลือกใช้ด้วยว่ามีคุณสมบัติโดดเด่นตามที่เราต้องการหรือเปล่า รวมถึงการมีงานวิจัยรับรองว่าให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังได้จริงและมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคด้วยนะครับ

บทความแนะนำ
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ทานซุปหม่าล่า-โพรไบโอติก-แสบท้อง-ท้องเสีย
ทานซุปหม่าล่าอร่อยเพลิน ระวังเผ็ดเกินจนเดือดร้อนลำไส้ แต่โพรไบโอติกช่วยคุณได้นะ
อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยงาน โพรไบโอติก probiotic
รู้สึกอ่อนเพลียง่าย? สาเหตุอาจจะไม่ได้มาจากการนอนหลับเสมอไป
ซ่อมร่างที่พัง-หลังออกกำลังกายหนัก-ด้วย โพรไบโอติก-Tactiva
ออกกำลังกายหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง โพรไบโอติกช่วยซ่อมแซมร่างกายที่พังหลังใช้งานหนักได้อย่างไร
บทความอื่นๆ
ทานซุปหม่าล่า-โพรไบโอติก-แสบท้อง-ท้องเสีย
ทานซุปหม่าล่าอร่อยเพลิน ระวังเผ็ดเกินจนเดือดร้อนลำไส้ แต่โพรไบโอติกช่วยคุณได้นะ
ฝุ่นพิษ-pm2.5-โพรไบโอติก-probiotic
PM2.5 ฝุ่นพิษละอองเล็ก แต่ทำร้ายได้ทั่วร่างกาย สร้างเกราะสู้กลับจากภายใน ด้วยโพรไบโอติก
ลำไส้-ขนาดใหญ่-เท่ากับสนามเทนนิส-แบคทีเรีย-โพรไบโอติก
เรื่องน่าทึ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้ ลำไส้ทำหน้าที่อะไร ทำไมมีแบคทีเรียในลำไส้เป็นล้านตัว
กินโพรไบโอติก-ตอนไหน-ได้ผลดี
เวลาในการกินโพรไบโอติกให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินโพรไบโอติกตอนไหน 

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น