ขาดโพรไบโอติก ก็ทำให้นาฬิกาชีวิตรวน จนสุขภาพแย่ลงได้

นาฬิกาชีวิต-โพรไบโอติก-probiotic

โพรไบโอติก (Probiotic) กับ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock หรือ นาฬิกาชีวภาพ) เกี่ยวข้องกันยังไง บางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องนาฬิกาชีวิตมาบ้าง พูดง่ายๆก็คือเป็นแนวคิดที่พูดถึงการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ที่จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในช่วงเวลาของตัวเอง ซึ่งนาฬิกาชีวิตจะมีรอบ 24 ชั่วโมง ตามเวลาโดยทั่วไปนั่นเอง แต่เมื่อใดที่ร่างกายเสียสมดุลหรือแม้แต่ระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหา ก็ส่งผลให้ระบบอื่นๆ รวน ไม่สามารถทำงานในช่วงเวลาของตัวเองได้เต็มที่ หากปล่อยไว้นานก็จะส่งผลต่อสุขภาพที่แย่ลงได้

นาฬิกาชีวิตทำงานอย่างไร 

สงและอุณหภูมิภายในร่างกาย จะเป็นตัวควบคุมนาฬิกาชีวิตของเรา เมื่อใดที่ร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม อวัยวะและระบบในร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน ดังนี้

  • ช่วง 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงที่ตับสร้างน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน และผลิตอินซูลินที่จะควบคุมการเผาผลาญ ถ้าเราหลับสนิทช่วงนี้ตับก็จะทำงานได้เต็มที่
  • ช่วง 03.00 – 05.00 น. การตื่นนอนช่วงเวลานี้ จะทำให้ปอดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ  จึงเป็นช่วงที่เหมาะแก่การตื่นมารับอากาศบริสุทธิ์ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ
  • ช่วง 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้เต็มที่ จึงเหมาะแก่การขับถ่ายของเสียและกากอาหารออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าเราขับถ่ายได้ทุกวันเป็นกิจวัตรของเสียก็จะตกค้างในร่างกายน้อย ทำให้ผิวพรรณของเราสดใส ไม่เป็นสิว
  • ช่วง 07.00 – 09.00 น. เป็นช่วงที่กระเพาะจะย่อยอาหารต่างๆ ได้ดีที่สุด ถ้าเราทานอาหารเช้าในช่วงนี้ทุกวัน กระเพาะก็จะแข็งแรงเพราะทำหน้าที่ได้เต็มที่ในช่วงเวลาของตัวเอง ลดโอกาสเกิดโรคกระเพาะอาหารและโรคอ้วนได้
  • ช่วง 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงที่ตับอ่อนจะนำสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ม้ามจะดักจับเชื้อโรคและสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้ดี จึงเป็นช่วงที่ร่างกายตื่นตัวที่สุดหลังตื่นนอน
  • ช่วง 11.00 – 13.00 น. หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ดี จึงเป็นช่วงที่ควรพักเรื่องเครียด ทำให้ร่างกายและหัวใจผ่อนคลายมากที่สุด
  • ช่วง 13.00 – 15.00 น. ลำไส้เล็กจะดูดซึมสารอาหารไปสร้างกรดอะมิโนเพื่อซ่อมแซมร่างกายได้เต็มที่ จึงควรงดทานอาหารทุกอย่าง แม้แต่ขนมจุกจิก
  • ช่วง 15.00 – 19.00  น. กระเพาะปัสสาวะและไตที่ทำหน้าที่ขับของเสียทำงานได้ดี จึงเป็นช่วงที่เหมาะจะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้สองอวัยวะนี้ทำงานได้ดี
  • ช่วง 19.00 – 23.00 น. เป็นช่วงที่เยื่อหุ้มหัวใจจะทำหน้าที่สูบโลหิตได้ดี ระหว่างนี้ร่างกายจะค่อยๆ ปรับสมดุลอุณหภูมิภายใน และเริ่มหลั่งเมลาโทนินในเวลาต่อมา จึงเป็นช่วงที่ควรทำกิจกรรมเบาๆ เพื่อเตรียมตัวพักผ่อน
  • ช่วง 23.00 – 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดีที่จะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ร่างกายหลับ และเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไปจนส่งผลเสีย เช่น ตื่นกลางดึก ลงพุง มีถุงไขมันใต้ตา หรือขาดวิตามินกลุ่มที่ละลายในไขมัน  

ถ้าร่างกายขาดโพรไบโอติก จะทำให้นาฬิกาชีวิตรวนได้อย่างไร


ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้ตามวงจรนาฬิกาชีวิต คือการดูแลสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ ตามที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว อาทิเช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย รู้จักผ่อนคลายความเครียด ทั้งหมดนี้ส่งเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อไปถึงการนอนและตื่นอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้ชีวิตสอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตของเราได้
แล้วโพรไบโอติกมีส่วนช่วยให้นาฬิกาชีวิตไม่รวนได้อย่างไร ก็ต้องเล่าย้อนไปถึงหน้าที่หลักของโพรไบโอติกให้เข้าใจกันก่อน โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ชนิตดี ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะลำไส้จะเป็นส่วนที่โพรไบโอติกอาศัยอยู่มากที่สุด แน่นอนว่าโพรไบโอติกจึงมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของลำไส้ 

  • การทำความสะอาดลำไส้ โดยเข้าไปยึดเกาะและเพิ่มจำนวนที่ผนังลำไส้ ไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคมารบกวนจุดนี้ 
  • เมื่อลำไส้สะอาดไม่มีอะไรมารบกวนก็ทำหน้าที่หลักไม่ว่าจะเป็น การย่อย ดูดซึมสารอาหาร ขับของเสีย สร้างฮอร์โมนสำคัญและเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ได้อย่างเต็มที่
  • เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารมาหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ไม่มีของเสียที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคตกค้าง ทุกระบบในร่างกายก็ทำงานได้ดีขึ้นไปด้วย

หากลองคิดในทางกลับกัน ถ้าร่างกายของเรามีโพรไบโอติกน้อยเกินไป ลำไส้ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ตามที่กล่าวมาได้อย่างเต็มที่ ระบบที่ทำงานประสานกับลำไส้ก็ทำงานแย่ลง เกิดอาการที่ไปรบกวนวงจรนาฬิกาชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • การขับถ่ายผิดปกติ จนทำให้การขับถ่ายที่ควรจะเป็นกิจวัตรตามช่วงเวลาผิดไปจากเดิม
  • ในรายที่มีอาการท้องผูก ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มเวลาให้ร่างกายดูดซึมสารพิษและเชื้อโรคจากของเสียที่ตกค้างนานขึ้น ซึ่งสารพิษหรือเชื้อโรคเหล่านี้ก็จะไปรบกวนอวัยวะอื่นให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ตามช่วงเวลาของตัวเอง
  • ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง ร่างกายรับเชื้อโรคเข้ามาง่ายขึ้น ระบบต่างๆในร่างกายโดนเชื้อโรครบกวนจนทำงานได้แย่ลง นาฬิกาชีวิตก็รวนตามไปด้วยง่ายๆ
  • การสร้างฮอร์โมนสำคัญอย่างเซโรโทนินหรือฮอร์โมนแห่งความสุขจะลดลง เซโรโทนินมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมองในส่วนของการควบคุมอารมณ์ เมื่อใดก็ตามที่มีเซโรโทนินปริมาณน้อย จะทำให้มีอารมณ์ไม่ดี วิตกกังวล เครียดได้ง่าย ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่น และคุณภาพการนอนได้โดยตรง

นอกจากนี้เซโรโทนินยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเมลาโทนิน หากร่างกายมีเซโรโทนินไม่เพียงพอ เมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับก็จะลดลง ทำให้หลับยากหรือนอนไม่หลับ วงจรการนอนผิดไปจากช่วงเวลาที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อเวลาตื่นและการทำกิจวัตรตามช่วงเวลาที่ผิดแปลกไปจากนาฬิกาชีวิตได้ด้วย

จะเห็นได้ว่าการขาดโพรไบโอติกจะค่อยๆ ส่งผลเป็นทอด เริ่มจากการมีสุขภาพลำไส้ที่ย่ำแย่และขยายไปส่วนอื่นๆ จนนาฬิกาชีวิตรวนได้ในที่สุด ดังนั้นเราจึงควรเสริมให้ร่างกายมีโพรไบโอติกเพียงพออยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นจากการเลือกทานอาหารที่มีโพรไบโอติก หรือการเพิ่มด้วยอาหารเสริมโพรไบโอติกซึ่งเป็นทางเลือกที่เพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตเร่งรีบอย่างเราได้เป็นอย่างมาก เพราะจะทานตอนไหนก็ได้และมั่นใจได้ว่าได้โพรไบโอติกในปริมาณที่เพียงพออย่างแน่นอน

บทความแนะนำ
ภาวะลำไส้รั่ว-เกิดจาก-ป้องกัน-อาการ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ต-ที่คุณทาน-อาจไม่มี-โพรไบโอติก-yogurt-probiotic
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
แก้ท้องผูกในวัยทอง-ผู้สูงอายุ-ขับถ่าย*โพรไบโอติก-probiotic
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
ความเข้าใจผิด-โพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการ กรดไหลย้อน สาเหตุ วิธีรักษา
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติก อย่างไร ให้ได้ผล
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เซโรโทนิน-serotonin-สารแห่งความสุข
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติกคืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
S__9920579
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
โพรไบโอติก-สารอาหารสารพัดประโยชน์-แก้ขับถ่ายยาก-ดูแลสุขภาพลำไส้-บำรุงกระดูก
โพรไบโอติก สารอาหารสารพัดประโยชน์ แก้ขับถ่ายยาก ดูแลสุขภาพลำไส้ ไปจนถึงบำรุงกระดูก
กินโพรไบโอติก-ตอนไหน-ได้ผลดี
เวลาในการกินโพรไบโอติกให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินโพรไบโอติกตอนไหน 
-1024x1024
อาการไม่ดีทุกครั้งหลังทานของโปรดหรือเราอยู่ในโหมดภูมิแพ้อาหารแฝง
แบคทีเรีย โพรไบโอติก probiotic
ทำไมเราจึงควรเลี้ยงแบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก (Probiotic) มีประโยชน์อย่างไรกับร่างกาย
บทความอื่นๆ
ลำไส้คนเอเชีย ลำไส้ฝรั่ง คนต่างชาติ ต่างกันยังไง
ลำไส้คนเอเชียต่างจากลำไส้ชาวตะวันตกอย่างไร ทำไมคนเอเชียกินเผ็ดเก่งกว่า
เลือกของขวัญ-Halloween-โพรไบโอติก-เลิกติดหวาน-ลดน้ำตาล
กินของหวานแล้วดีต่อใจ ระวังแบคทีเรียดีในลำไส้โดนทำลายไม่รู้ตัว ข้อเสียของการกินน้ำตาลเยอะมีอะไรบ้าง
กลั้นอุจจาระ-เสี่ยงมะเร็งลำไส้-ป้องกัน-โพรไบโอติก
กลั้นอุจจาระบ่อยมีผลเสียอย่างไร เสี่ยงมะเร็งลำไส้จริงหรือ
ลำไส้คือสมองที่สอง
ทำไมลำไส้ถูกเปรียบเป็นสมองที่ 2 ของมนุษย์

สินค้าของเรา

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น