กินของหวานแล้วดีต่อใจ ระวังแบคทีเรียดีในลำไส้โดนทำลายไม่รู้ตัว ข้อเสียของการกินน้ำตาลเยอะมีอะไรบ้าง

เลือกของขวัญ-Halloween-โพรไบโอติก-เลิกติดหวาน-ลดน้ำตาล

ในหนึ่งวันเราจะได้รับสารอาหารหลายอย่างจากอาหารที่เราทานแต่ละมื้อ ซึ่งน้ำตาลก็เป็นหนึ่งในสารอาหารที่เราได้รับเข้ามาด้วย จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประเภทอาหารที่เราทาน
น้ำตาลให้รสชาติหวานชื่นใจ และให้พลังงานกับร่างกายก็จริง แต่ถ้าทานมากเกินไปก็อาจกลายเป็นสารที่ให้โทษกับเราได้ ซึ่งในวันนี้เราจะขอพูดถึงโทษของการติดหวาน ทานของหวานที่มีน้ำตาลเยอะ ส่งผลเสียต่อแบคทีเรียในลำไส้และสามารถกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นต่อเนื่องกันได้อย่างไรบ้าง รวมถึงการทานโพรไบโอติก (Probiotic) ที่เขาว่าดีต่อลำไส้ช่วยได้อย่างไร 

น้ำตาลมีประโยชน์อย่างไร

น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดเล็กที่สุด ดังนั้นเราจึงได้รับน้ำตาลจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น นม ธัญพืช ผลไม้ ผัก และประโยชน์ของน้ำตาลก็จะเหมือนกับคาร์โบไฮเดรตทั่วไปคือให้พลังงาน ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ลดความเครียด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
การที่เราได้รับน้ำตาลที่มีในอาหารตามธรรมชาติ แบบไม่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปอื่นๆ โดยทั่วไปก็มักจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย หากทานในปริมาณที่พอดี แต่ถ้าเป็นการเติมน้ำตาลที่ไม่ได้เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในอาหาร เช่น น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม เพื่อปรุงรสให้ถูกปากเรามากขึ้น แบบนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสให้เราบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วันได้ (ปริมาณน้ำตาลที่องค์การอนามัยโลกแนะนำต่อวัน จะอยู่ที่ไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม)

กินหวานเกินไปทำลายสุขภาพลำไส้ได้อย่างไรบ้าง

ลำไส้ของเราจะมีชุมชนจุลินทรีย์ตั้งรกรากอยู่ที่ผนังลำไส้ ในสภาวะปกติที่มีแบคทีเรียดีอาศัยอยู่มากกว่าแบคทีเรียก่อโรค ลำไส้จะมีสมดุลที่ดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อใดที่ร่างกายรับสารให้โทษซึ่งเข้าไปทำลายแบคทีเรียดีโดยตรง ตัวก่อโรคก็จะแข็งแกร่งขึ้น เพิ่มจำนวนได้ดี จนสามารถเข้ายึดพื้นที่ผนังลำไส้แทนได้

อาหารที่เราทาน ก็คืออาหารของแบคทีเรียในร่างกายด้วย

โดยทั่วไปแบคทีเรียดีที่คอยดูแลร่างกาย จะไม่ชอบอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ตรงข้ามกับแบคทีเรียก่อโรคที่ของหวานๆ มันๆ เป็นอาหารจานโปรดของเจ้าพวกนี้ ดังนั้นการที่เราทานอาหารหวานเข้าไปมากๆจึงเท่ากับเป็นการให้อาหารแบคทีเรียร้าย เร่งให้พวกมันเติบโตได้ดี สามารถสร้างสารพิษออกมากระตุ้นการอักเสบในร่างกายได้มากขึ้น ในส่วนของลำไส้เมื่อเกิดการอักเสบซ้ำๆ ผนังลำไส้ก็จะถูกทำลายไปเรื่อยๆ ทำให้เชื้อโรค รวมถึงสารพิษหรือสารแปลกปลอมอื่นๆ เล็ดลอดผ่านผนังลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยังส่วนต่างๆในร่างกายได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา

เปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นสารให้ความหวาน ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไหม

แม้ว่าปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลออกมาเป็นทางเลือกสุขภาพให้กับผู้บริโภค แต่ขึ้นชื่อว่าให้ความหวานเหมือนกัน จึงไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพลดลง โดยเฉพาะในคนที่คิดว่าการทานน้ำตาลเทียมไม่มีโทษเหมือนกับการน้ำตาลทั่วไป แล้วยิ่งชะล่าใจกลายเป็นยิ่งทานของหวานหนักกว่าเดิม
ในส่วนของแบคทีเรียดีก็ไม่ได้รู้สึกว่าน้ำตาลเทียมนั้นมีรสหวานเหมือนกับที่ลิ้นเรารับรส ในทางกลับกันพวกมันได้รับรสขมจากสารเคมี จนไม่สามารถทานเป็นอาหารของพวกมันได้ เมื่อไม่มีอาหารให้ทานอย่างเพียงพอก็ไม่สามารถมีชีวิตต่อไปได้ ผลที่ตามมาคือลำไส้มีโอกาสเสียสมดุลไม่ต่างกับที่เราทานน้ำตาลทั่วไปอยู่ดี

เราจะควบคุมปริมาณการกินน้ำตาล ควบคู่กับการดูแลลำไส้ทำได้อย่างไรบ้าง

  • เลี่ยงการทานน้ำหวาน น้ำอัดลม ลดปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น ชา กาแฟ
  • เลี่ยงการเติมน้ำตาลเพิ่มในอาหาร เลือกเครื่องปรุงรสหรือซอสที่ไม่เติมน้ำตาล
  • เปลี่ยนจากการทานขนมหวานเป็นของว่างที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ถั่ว ธัญพืชที่ไม่เติมน้ำตาลหรือเกลือ ดาร์กช็อกโกแลต ทั้งนี้ควรทานในปริมาณที่พอดีเพื่อให้ได้แคลอรี่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
  • แปรงฟันหรือบ้วนปากทุกครั้งหลังทานของหวาน เพราะการที่ยังมีรสหวานเหลือที่ต่อมรับรสภายในช่องปากอาจทำให้เกิดความรู้สึกอยากน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้
  • ทานผลไม้สดแทนการดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูป เผื่อหลีกเลี่ยงน้ำตาลปริมาณสูงและเพิ่มกากใยซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้
  • ทานอาหารที่มีโพรไบโอติก (Probiotic) สูงเพื่อส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ โดยทั่วไปคนมักจะทานโยเกิร์ตเพื่อเสริมโพรไบโอติก แต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกโยเกิร์ตที่ระบุชัดเจนว่ามีโพรไบโอติกเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และต้องเป็นชนิดที่ไม่เติมน้ำตาลจะดีที่สุด หรือถ้าจะให้สะดวกขึ้นก็สามารถเลือกทานโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งมั่นใจได้แน่นอนว่าจะได้รับโพรไบโอติกอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะแบรนด์ที่มีนวัตกรรมแคปซูลทนกรด ที่สามารถปกป้องโพรไบโอติกไม่ให้ถูกน้ำย่อยในทางเดินอาหารทำลายได้ง่ายๆ นอกจากนี้ต้องดูด้วยว่าเป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ ที่สำคัญควรมีงานวิจัยรับรองเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริโภคด้วย
บทความแนะนำ
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
รับมือกับภาวะซึมเศร้าช่วงหน้าฝนด้วยโพรไบโอติก ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปพร้อมกัน
โพรไบโอติกควรเก็บในตู้เย็นจริงหรือ เราจะมีวิธีเลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ทนทานได้อย่างไร
ไม่รู้สึกอยากอาหาร ท้องอืดบ่อย ต้องอ่าน
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น