อาการไม่ดีทุกครั้งหลังทานของโปรดหรือเราอยู่ในโหมดภูมิแพ้อาหารแฝง

ภูมิแพ้ อาการเจ็บป่วยที่ดูเหมือนเล็กน้อยแต่ก็คอยกวนใจและสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตให้ใครหลายคนได้ ถึงดูจะไม่ใช่ความเจ็บป่วยรุนแรงแต่รู้ไหมครับว่าในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยด้วยอาการภูมิแพ้เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจจากสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ฝุ่น ควัน การใช้สารเคมีสูงขึ้น ของใช้หรือแม้แต่อาหารที่เรารับประทานจึงมีสิ่งแปลกปลอมเจือปนมากขึ้น อาการภูมิแพ้จึงไม่ได้มีแค่การแพ้ฝุ่น แพ้อากาศ แพ้ขนสัตว์ เท่านั้นแต่ยังมีอาการแพ้อาหารที่จะแสดงอาการทันทีหรือการแพ้อาหารแฝงที่ไม่แสดงอาการทันที

ภูมิแพ้อาหารต่างจากภูมิแพ้อาหารแฝงอย่างไร

  • ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy) จะแสดงอาการหลังจากที่เราทานอาหารที่แพ้เข้าไปในทันที หรือหลังจากนั้นประมาณ 2-4 ชั่วโมง อาการแพ้ที่เป็นจะมีทั้งที่เป็นผื่นลมพิษ ตาหรือปากบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หากมีอาหารแพ้มากๆก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
  • ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) อาการจะไม่แสดงออกมาทันที แต่จะเริ่มมีเมื่อเราทานอาหารที่แพ้ซ้ำๆ บ่อยๆ  หรือทานปริมาณมาก ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังทานอาหารไปอย่างน้อย 48 ชั่วโมง อาการภูมิแพ้อาหารแฝงที่แสดงออกมามักจะไม่รุนแรง เช่น ปวดหัว ท้องอืด ท้องเสีย บวมน้ำ หรือมีการอักเสบของชั้นใต้ผิวหนัง จึงทำให้หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองแพ้อาหารชนิดนั้นๆอยู่ และยังคงทานซ้ำๆต่อไป ซึ่งอาหารที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงนั้น มีได้มากถึง 200 ชนิด โดยชนิดที่มักจะพบว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กลุ่มเมล็ดธัญพืชที่มีกลูเตน เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี 

อาการภูมิแพ้อาหารแฝงเกิดจากอะไร

ภูมิแพ้อาหารแฝง เกิดจากการที่ร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยอาหารชนิดนั้นๆ ทำให้การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์โมเลกุลของอาหารชนิดนั้นจึงสามารถหลุดลอดเข้าไปในกระแสเลือดได้ ร่างกายจึงเกิดการสร้างภูมิ (Antibody) เพื่อออกมาต่อต้านอาหารชนิดที่แพ้ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาในร่างกายและแสดงออกมาเป็นอาการในรูปแบบต่างๆ ที่จะต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

หรืออีกสาเหตุหนึ่งมาจากการมีภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดช่องว่าง ก็ทำให้สารเคมีที่มากับอาหาร เชื้อโรค สารก่อภูมิแพ้หรือแม้แต่โมเลกุลของอาหารที่เราแพ้ผ่านเข้าไปในกระแสเลือดได้มากขึ้น และเกิดการอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไปได้เช่นกัน 

อาการภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นอย่างไร

  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เพราะระบบย่อยอาหารมีปัญหา
  • มีอาการท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ลำไส้ระคายเคือง
  • เป็นสิว มีผื่นลมพิษเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง และมักปวดไมเกรนร่วมด้วย
  • รู้สึกเหมือนจะไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดตามข้อ หรือหัวเข่า

จะรักษาอาการภูมิแพ้อาหารแฝงให้ดีขึ้นได้อย่างไร

  1. ปรับพฤติกรรมโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้อย่างน้อย 6 เดือน หลังจากนั้นอาการแพ้มักจะดีขึ้นและสามารถกลับมาทานอาหารชนิดที่เคยแพ้ได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องคอยสังเกตตัวเองอยู่และไม่ทานอาหารชนิดนั้นซ้ำๆและปริมาณมากเกินไป เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิออกมาต่อต้านและกลับมาเป็นภูมิแพ้อาหารแฝงกับชนิดนั้นอีกครั้งได้
  2. รับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ทั้งในแง่การรับสารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง รวมถึง ภูมิแพ้อาหารแฝงด้วย
  3. ดูแลสุขภาพระบบย่อยอาหารและลำไส้ เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายกว่า 70% อยู่ที่ลำไส้ ดังนั้นถ้าลำไส้สุขภาพดีก็ช่วยลดโอกาสการเกิดทั้งภูมิแพ้ทั่วไปและภูมิแพ้อาหารแฝงได้ ซึ่งการดูแลสุขภาพลำไส้เริ่มได้ง่ายๆจากการเลือกรับประทานอาหารที่ทำได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยง Fast Food หรือ Junk Food อาหารแปรรูปต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้เข้าไปรบกวนและยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียดีที่คอยดูแลลำไส้ 
  • ทานอาหารหลากหลาย รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์เป็นอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้
  • ทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกสูง เพราะโพรไบโอติกจัดว่าเป็นหนึ่งในแบคทีเรียชนิดดีที่ร่างกายต้องการ โพรไบโอติกจะเข้าไปปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยการส่งเสริมให้แบคทีเรียชนิดดีเติบโตได้ดี ในขณะเดียวกันก็ยับยั้งการทำงานและการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคเมื่อไม่มีสิ่งแปลกปลอมมารบกวนผนังลำไส้ก็ไม่เกิดการอักเสบจนเกิดช่องว่าง หรือภาวะลำไส้รั่วที่สิ่งแปลกปลอมรวมถึงโมเลกุลของอาหารที่เราเสี่ยงเกิดการแพ้ สามารถหลุดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่ายๆ จึงเท่ากับเป็นการลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝง รวมถึงช่วยฟื้นฟูลำไส้ที่เคยอ่อนแอในช่วงที่เคยเกิดภาวะภูมิแพ้แฝงได้ด้วย


บทความแนะนำ
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
ท้องผูกแก้ไม่หาย ทั้งที่กินผักเยอะ เกิดจากอะไร
ลำไส้ขี้เกียจคืออะไร อาการเป็นอย่างไร การทานโพรไบโอติกช่วยป้องกันลำไส้ขี้เกียจได้หรือไม่
โพรไบโอติก มีผลข้างเคียงไหม ทานแบบไหนไม่อันตราย
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น